5 เคล็ดลับ เก็บเงินเพื่อลูกอย่างไรให้ได้ผล

5 เคล็ดลับ เก็บเงินเพื่อลูกอย่างไรให้ได้ผล

เมื่อพูดถึงเรื่องเงินแล้วก็ถือเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมากในการเลี้ยงลูก สำหรับใครที่กำลังวางแผนจะสร้างครอบครัวหรือมีบุตร อีกหนึ่งสิ่งที่จะต้องมีการวางแผนไว้เพื่ออนาคตของลูกนั่นคือการเก็บเงิน เพื่อไว้ใช้จ่ายในยามที่จำเป็น เพราะในปัจจุบันนี้ค่าครองชีพสูงขึ้นมาก การเลี้ยงลูกในยุคนี้จึงไม่ใช่เรื่องง่ายและใช้เงินไม่น้อยเลยทีเดียว ครอบครัวที่มีการวางแผนการเงินที่ดีจะช่วยลดความเสี่ยงจากปัจจัยอื่นๆที่ทำให้เรานั้นเสียเงินไปโดยใช่เหตุ ยิ่งถ้าเป็นคุณพ่อคุณแม่มือใหม่แล้วเราก็เชื่อว่าหัวหมุนกันเลยทีเดียว วันนี้เราจะมี 5 เคล็ดลับในการช่วยเก็บเงินเพื่อไว้ใช้จ่ายในยามที่จำเป็นให้กับลูกน้อย เก็บเงินอย่างไรให้ได้ผลนั้นไปติดตามกันเลย ทำบัญชีรายรับรายจ่ายเป็นประจำ ถือเป็นเรื่องพื้นฐานในการบริหารการเงินที่ดี  และอาจจะเป็นวิธีที่หลายคนนั้นมองข้ามความสำคัญไป แต่การทําบัญชีรายรับรายจ่ายในทุกวันนั้นจะช่วยทำให้เราวิเคราะห์ได้ว่าครอบครัวมีรายจ่ายโดยรวมเสียไปกับปัจจัยใดบ้าง หากปัจจัยนั้นไม่จำเป็นเราสามารถปรับเปลี่ยนและลดค่าใช้จ่ายส่วนนั้นไปได้เพื่อจะมีเงินเก็บเพิ่มมากยิ่งขึ้นนั่นเอง ข้อดีของการทำรายรับรายจ่ายจะช่วยลดปัญหาการใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือยและทำให้เราไม่สับสนแหล่งที่มาของเงินหรือรายรับต่างๆได้ ซึ่งการทำรายรับรายจ่ายนั้นสามารถให้คุณวางแผนอนาคตในการใช้เงินให้อย่างเพียงพอได้อย่างคร่าวๆได้อีกด้วย แบ่งสัดส่วนการใช้เงิน นอกจากคุณจะออมเงินอยู่สม่ำเสมอแล้ว วิธีการแบ่งสัดส่วนการใช้เงินนั้นก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้คุณนั้นมีเงินเก็บเพิ่มมากยิ่งขึ้น การแบ่งสัดส่วนการใช้จ่ายนั้นจะช่วยให้เราวางแผนการเงินได้ง่ายยิ่งขึ้น สำหรับบ้านไหนที่มีนิสัยรักการออมก็แนะนำให้สอนลูกแบ่งใช้เงินให้เป็นสัดส่วน ให้เหมาะสม จนเป็นนิสัย   ฝากประจําเพื่อลูก แบบปลอดภาษี การฝากประจำนั้นจะเป็นอีกตัวช่วยหนึ่งที่จะทำให้เรานั้นเก็บเงินได้อย่างสม่ำเสมอเป็นรายเดือน โดยเฉพาะคุณพ่อคุณแม่ที่รู้ค่าเทอมของโรงเรียนที่ต้องการจะให้ลูกเข้าเรียนแล้วให้รีบทยอยเก็บเงินเป็นรายเดือนในรูปแบบฝากประจำแบบปลอดภาษี ที่มีวันครบกำหนดฝากใกล้เคียงกับวันที่ต้องจ่ายค่าเทอมให้ลูก จะช่วยให้มีเงินก้อนไว้ใช้จ่ายอีกทั้งการฝากแบบนี้ยังได้ดอกเบี้ยเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยให้เราเก็บเงินได้อย่างสม่ำเสมอและไม่ถอนออกมาใช้ก่อนเมื่อไม่จำเป็น ทำประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ให้กับลูก การทำประกันชีวิตในรูปแบบนี้คล้ายกับการออมเงิน แต่มีความแตกต่างกันตรงที่จะได้รับความคุ้มครองชีวิตเพิ่มขึ้นมาด้วย ซึ่งประกันชีวิตแบบเงินออมนี้มีให้เลือกทั้งระยะสั้น 10-15 ปีหรือระยะยาว 16 ถึง 20 ปี ในกรณีที่คุณพ่อคุณแม่ทำประกันแบบสะสมทรัพย์ไว้ให้ลูกจะต้องจ่ายเบี้ยประกันงั้นในทุกๆเดือนหรือทุกๆปีเมื่อครบสัญญาแล้วคุณพ่อคุณแม่จะได้เงินก้อนมาไว้ใช้จ่ายได้อีกด้วย ซึ่งการทำประกันในรูปแบบนี้มีข้อดีมากมาย สามารถนำเบี้ยประกันมาลดหย่อนภาษีได้อีกทั้งยังได้รับการคุ้มครองชีวิตร้านมีเงินเก็บไว้เป็นทุนการศึกษาให้กับลูกเมื่อครบสัญญา เริ่มเล่นหุ้นง่ายๆ เพื่อต่อยอดละหานเงินในอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งการซื้อหุ้นนั้นถือมีความเสี่ยงในระดับหนึ่ง แต่เมื่อเทียบกับเงินออมประเภทอื่นๆแล้วการเล่นหุ้นนั้น จะได้จำนวนเงินมากกว่า ซึ่งการเล่นหุ้นนั้นจะต้องสั่งสมประสบการณ์และศึกษารายละเอียดในการเล่นอย่างถี่ถ้วน เพราะหากประมาทอาจขาดทุนได้โดยไม่รู้ตัว ข้อดีของการเล่นหุ้นคือจะได้ผลตอบแทนที่สูงในระยะยาวและมีสภาพคล่องสูงพอประมาณ การเล่นหุ้นสามารถถ่ายถอนหรือขายคืนได้ซึ่งหากคุณพ่อคุณแม่เดือดร้อนในเรื่องเงินก็สามารถเอาเงินออกมาใช้ก่อนได้นั่นเอง […]

อาหารมื้อแรกในวัย 6 เดือน ต้องมีสฟริงโกไมอีลิน

อาหารมื้อแรกในวัย 6 เดือน ต้องมีสฟริงโกไมอีลิน

อย่างที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าเด็กทารกนั้น สามารถเริ่มรับประทานอาหารได้ในวัย 6 เดือน เนื่องจากร่างกายเริ่มมีพัฒนาการที่มากยิ่งขึ้น การทานนมแม่หรือนมผงเพียงอย่างเดียว ทำให้ลูกน้อยไม่สามารถได้รับสารอาหารได้อย่างเพียงพอ จึงต้องมีการเสริมด้วยอาหารบด ที่อุดมไปด้วยโปรตีน คาร์โบไฮเดรต กรดไขมัน วิตามิน แคลเซียม รวมถึงสฟริงโกไมอีลินด้วย ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ขาดไม่ได้เลย เพราสฟริงโกไมอีลิน จะมีส่วนช่วยสร้างไมอีลิน ซึ่งเป็นปลอกหุ้มเซลล์ประสาท ช่วยให้การส่งสัญญาณไปยังระบบประสาทนั้นทำงานได้รวดเร็ว ว่องไวมากยิ่งขึ้นนั่นเอง ดังนั้น มื้อแรกทั้งทีจะต้องมีสฟริงโกไมอีลิน ถือเป็นการเริ่มต้นที่ดี ช่วยให้ลูกน้อยมีพัฒนาการที่ฉลาดสมวัยนั่นเอง 1.อาหารมื้อแรกของลูกน้อย ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการเจริญเติบโตที่สมวัย เป็นการฝึกพัฒนาการในด้านต่างๆได้เป็นอย่างดี อาหารในมื้อแรกจะเริ่มจากปริมาณที่น้อยๆ เพื่อให้ลูกน้อยได้ฝึกการใช้ลิ้น หรือฝึกทักษะการใช้ริมฝีปาก รวมถึงฝึกการกลืนได้อีกด้วย โดยจะให้ทารกทานอาหารทีละอย่าง โดยจะเว้นระยะ 2 สัปดาห์แล้วจึงเปลี่ยนเป็นอาหารชิ้นใหม่ วิธีนี้จะช่วยให้เราสังเกตการแพ้อาหารของลูกน้อยได้ด้วย 2.จัดอาหารให้มีความหลากหลาย อาทิ เนื้อสัตว์ ผลไม้ ทั้งนี้เพื่อสร้างความคุ้นเคยให้กับลูกน้อยได้เป็นอย่างดี โดยอาหารที่ให้ลูกน้อยทานนั้นจะต้องเหมาะสมตามช่วงวัย เพราะในเด็กทารกนั้น ระบบการย่อย และดูดซึมสารอาหารยังทำงานได้ไม่สมบูรณ์ จึงต้องค่อยๆปรับสูตรอาหาร เพื่อให้ร่างกายเริ่มทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นตามลำดับ 3.เนื้อสัมผัสอาหาร นั้นก็สำคัญ จะช่วยให้ลูกน้อยสัมผัสได้ถึงความแตกต่างของอาหารแต่ละชนิด  โดยจัดให้เหมาะกับพัฒนาการของเด็กทารก ที่เริ่มจากอาหารเหลว เพื่อปรับให้ระบบการย่อยทำงานได้ดียิ่งขึ้น จากนั้นจึงเปลี่ยนเป็น อาหารกึ่งเหลว […]