วิธีการลดความเสี่ยงของอาหารติดคอลูก เป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ต้องศึกษาและทำความเข้าใจ เมื่อลูกเข้าสู่วัยต้องทานอาหารเสริมตามวัย ควบคู่กับนมมื้อหลัก อาจเป็นอีกหนึ่งปัญหาท้าทายสำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ ที่จะต้องประกอบอาหารให้ลูกทาน และอีกสิ่งหนึ่งที่น่ากังวลใจ เป็นปัญหาที่อาจอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้เลยนั่นก็คือการสำลักอาหาร หรือมีสิ่งแปลกปลอมอุดกั้นทางเดินหายใจ เหตุการณ์เหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลา จะทำให้เด็กนั้นไม่สามารถหายใจได้ตามปกติ หรือเกิดภาวะหายใจไม่ออกเฉียบพลัน ซึ่งถ้าไม่ได้รับการปฐมพยาบาลที่ถูกวิธีอาจเสียชีวิตได้เลย วันนี้เราจึงมีวิธีการลดความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดเหตุการณ์อาหารติดคอ มาฝากกัน จะมีวิธีใดที่สามารถลดความเสี่ยงได้บ้างนั้นไปติดตามกันเลย
ฝึกให้ลูกรู้จักเคี้ยวอาหาร
เป็นวิธีพื้นฐานที่จะช่วยลดความเสี่ยง ไม่ให้อาหารติดคอได้ โดยเฉพาะเด็กในวัยกำลังซนนั้นมักไม่ให้ความสำคัญในการทานอาหารให้ละเอียด ส่วนมากมักห่วงเล่นจนไม่ได้สนใจอาหารที่อยู่ตรงหน้าเท่าไหร่นัก ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของคุณพ่อคุณแม่ที่จะต้องปลูกฝังลักษณะนิสัยพื้นฐานในการเคี้ยวอาหารให้กับลูก เคี้ยวให้ละเอียดก่อนกลืน นอกจากนี้คุณพ่อคุณแม่สามารถ เลือกอาหารที่มีลักษณะตามช่วงวัยให้เหมาะสมกับลูกจะช่วยลดความเสี่ยงนี้ลงได้เช่นกัน เช่น ลักษณะความอ่อนนุ่มของอาหาร เป็นต้น
ฝึกให้ลูกนั่งทานข้าวอย่างเป็นระเบียบ
การนั่งทานข้าวอยู่บนโต๊ะอาหารจะช่วยลดความเสี่ยงหนีลงได้มากเลยทีเดียว เพราะถ้าหากเด็กห่วงเล่น เล่นไปกินไปจะยิ่งมีโอกาสเสี่ยงต่ออาหารติดคอสูงขึ้น ดังนั้นแนะนำว่าให้คุณพ่อคุณแม่ปลูกฝังลักษณะนิสัยพื้นฐานนี้ตั้งแต่ยังเด็ก ปฏิบัติจนเป็นนิสัย ให้นั่งทานอาหารบนเก้าอี้เท่านั้น จะช่วยลดความเสี่ยงอาหารติดคอลงได้มากเลยทีเดียว
เตรียมอาหารตามช่วงวัย
การเตรียมอาหารให้ลูกทานนั้นมีความสำคัญอย่างมาก สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่จะต้องคำนึงถึงเลยนั่นก็คือช่วงวัยของลูก ว่าเหมาะสมกับอาหารในลักษณะไหน ยกตัวอย่างเช่น เด็กในวัย 6 เดือน ควรทานข้าวบดละเอียด เด็กในวัย 10-12 เดือน เริ่มทานอาหารที่เป็นชิ้นพอดีคำ ไม่หั่นผักให้มีลักษณะกลมเพราะเสี่ยงต่อการติดคอได้ง่ายยิ่งขึ้น เป็นต้น
ไม่ให้ลูกทานอาหารที่มีความเสี่ยง
โดยเฉพาะเด็กอายุต่ำกว่า 3 ขวบควรระมัดระวังในเรื่องของการทานอาหารเป็นพิเศษ อาหารที่มีลักษณะกลม เช่น เม็ดถั่ว ธัญพืช องุ่น ลูกอม มีโอกาสที่จะเสี่ยงต่อการสำลักและติดคอสูง
ไม่ควรพูดคุยขณะทานอาหาร
นอกจากจะเป็นมารยาทบนโต๊ะอาหารแล้วการพูดคุยในขณะที่อาหารยังอยู่ในปากนั้นมีความเสี่ยงที่จะทำให้อาหารนั้นเจ็บคอได้สูงมาก เนื่องจากในขณะที่เราพูดคุยกันนั้นหลอดลมจะเปิดและถ้าหากเด็กมีการกินผิดจังหวะ อาจส่งผลให้อาหารนั้นลงไปติดที่หลอดลมได้ ซึ่งเป็นเพียงเสี้ยววินาทีเท่านั้นที่อันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้เลย ดังนั้นคนโบราณจึงมักสอนอยู่เสมอว่าเมื่อทานอาหารอยู่ไหนไม่ควรพูดคุยกันนั้นเอง
สอนลูกให้ทานข้าวพอดีคำ
เมื่อลูกถึงวัยที่สามารถทานอาหารได้เองแล้วสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่จะสามารถควบคุมและป้องกันไม่ให้อาหารติดคอลูกได้นั่นคือ การอบรมบอกกล่าวลูกเสมอว่าให้เลือกทานอาหารแต่พอดีคำ ตัดเป็นชิ้นเล็กๆเพื่อให้สามารถเคี้ยวอาหารได้อย่างละเอียดมากยิ่งขึ้น วิธีนี้จะช่วยลดความเสี่ยงอาหารติดคอลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ปลูกฝังนิสัยไม่หยิบสิ่งของเข้าปาก
อาจเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ท้าทายความสามารถของคุณพ่อคุณแม่เป็นอย่างมาก เพราะโดยธรรมชาติของเด็ก ตามช่วงวัยแล้วมักจะหยิบสิ่งของเข้าปากอยู่เสมอ โดยเฉพาะของเล่น ซึ่งคุณพ่อคุณแม่จะต้องคอยปลูกฝังลูกว่าสิ่งไหนที่หยิบทานได้ และสิ่งไหนที่ไม่ควรรับประทาน เพราะนอกจากจะทำให้อาหารนั้นติดคอได้แล้วยังเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อโรคเชื้อแบคทีเรียที่ติดอยู่บนพื้นผิวเหล่านั้น ส่งผลให้อาจเป็นลำไส้อักเสบตามมาในภายหลังได้อีกด้วย
จะเห็นได้ว่าภาวะสิ่งแปลกปลอมอุดกั้นทางเดินหายใจนั้นเป็นเรื่องที่ใกล้ตัว และอันตรายถึงชีวิต ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จึงควรตระหนักถึงความสำคัญตรงจุดนี้ ซึ่ง วิธีการลดความเสี่ยงของอาหารติดคอลูก ที่เรานำมาฝากกันในวันนี้นั้น คุณพ่อคุณแม่สามารถฝึกฝนและปฏิบัติตามวิธีต่างๆเหล่านั้นได้ และที่สำคัญคุณพ่อคุณแม่จะต้องเรียนรู้และฝึกปฏิบัติเมื่อเกิดภาวะสิ่งแปลกปลอมอุดกั้นทางเดินหายใจ เพื่อสามารถช่วยเหลือลูกได้อย่างทันท่วงที เพียงเท่านี้ลูกก็จะรับประทานอาหารได้อย่างปลอดภัยแล้ว babyplaypark