ภาวะเสี่ยงในการตั้งครรภ์แฝด เชื่อว่า หลายครอบครัวจะต้องชื่นชอบและอยากมีลูกแฝดอย่างแน่นอน เพราะตั้งครรภ์เพียงครั้งเดียวได้ลูกพร้อมกันถึง 2 คน อีกทั้งยังมีรูปร่างหน้าตาที่คล้ายคลึงกัน เป็นช่วงวัยเดียวกันที่สามารถเป็นได้ทั้งพี่น้องและเพื่อนในเวลาเดียวกันนั่นเอง แต่คุณทราบหรือไม่ว่าการตั้งครรภ์แฝดนั้นมีความเสี่ยงสูงกว่าการตั้งครรภ์ปกติอยากได้ คุณแม่มีโอกาสที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์สูง เราจะไปแถวบ้านที่จะต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดและวิธีการบำรุงครรภ์อย่างถูกต้องและเหมาะสม วันนี้เราจึงรวบรวมภาวะเสี่ยงและวิธีการดูแลตัวเองเมื่อตั้งครรภ์แฝดมาฝากกัน จะมีอะไรบ้างคะติดต่อกันเลย
1. มีโอกาสแท้งบุตรได้สูง
เพราะธรรมชาติออกแบบมาให้ตั้งครรภ์ได้ครั้งละ 1 คน แต่ถ้าหากคุณแม่ตั้งครรภ์แฝดในท้องเดียวอาจทำให้เกิดภาวะผิดปกติในร่างกายเกิดขึ้นหลายอย่าง ถ้าหากดูแลตัวเองไม่ดี มีโอกาสแท้งได้สูงโดยเฉพาะในช่วงไตรมาสแรก
2. มีภาวะรกเกาะต่ำ
อย่างที่เราทราบกันดีอยู่แล้วว่าตำแหน่งที่รกเกาะแน่นจะเป็นจุดฝั่งตัวของทารก ซึ่งเหตุการณ์นี้ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ยิ่งคุณตั้งครรภ์สอดจะทำให้รกเกาะต่ำใกล้ปากมดลูก ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วจะไม่มีอาการผิดปกติใด แต่ถ้าหากถึงช่วงเวลาที่มดลูกมีการแข็งตัวว่าจะถึงก่อนกำหนดหรือเมื่อครบกำหนด 9 เดือนก็ตาม กราบขอบพระคุณท่านมีโอกาสเลือกตกและอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้เลยคิดเรา ดังนั้นถ้าคุณตั้งครรภ์แฝดจะต้องมั่นใจว่า รกเกาะอยู่ในบริเวณที่เหมาะสม เพื่อการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องก่อนถึงกำหนดคลอดนั่นเอง
3. มีโอกาสคลอดก่อนกำหนดสูง
โดยปกติแล้ว อายุครรภ์ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 38-41 สัปดาห์ แต่ถ้าหากคุณแม่คลอดก่อนอายุครรภ์ 37 สัปดาห์ ทางการแพทย์นับว่าเป็นการคลอดก่อนกำหนด จะยิ่งทำให้ทารกมีน้ำหนักตัวน้อย เกิดภาวะแทรกซ้อนได้สูง ดังนั้น ถ้าคุณตั้งครรภ์แฝด แนะนำให้สังเกตอาการ ถ้าหากมีอาการปวดท้องเป็นพักๆ ท้องแข็งบ่อยขึ้น มีอาการปวดหลังด้านล่างบริเวณก้นกบ รวมไปถึงมีเลือดออกทางช่องคลอดให้รีบพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและรักษาอย่างเร่งด่วน
4. มีภาวะรกเสื่อม
รก มีหน้าที่ในการลำเลียงสารอาหารจากแม่สู่ลูกไปตลอดระยะเวลาตั้งครรภ์ เมื่อครบกำหนดคลอด หรือประมาณ 9 เดือนรกก็จะค่อยๆเสื่อมสภาพตามการใช้งาน แต่ในคุณแม่ที่ตั้งครรภ์แฝด เสี่ยงที่รกจะเสื่อมก่อนวันคลอด ซึ่งพบได้มากในคุณแม่ที่ครรภ์เป็นพิษ และมีโรคเบาหวาน ซึ่งถ้าหากถึงจุดที่รกไม่สามารถทำงานได้แล้ว ลูกจะไม่ได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ จำเป็นที่จะต้องคลอดลูกออกมาถึงแม้จะยังไม่ถึงกำหนดคลอดก็ตาม เพื่อป้องกันทารกเสียชีวิตในครรภ์นั่นเอง
5. ภาวะน้ำคร่ำน้อย
ก็เป็นอีกหนึ่งเหตุการณ์ที่ต้องระมัดระวังและคอยสังเกตอย่างใกล้ชิด ภาวะนี้มักจะเกิดร่วมกับภาวะรกเสื่อม ผลกระทบของน้ำคร่ำที่มีปริมาณน้อยจนเกินไป จะทำให้น้ำที่อยู่รอบตัวทารกลดลง มีพื้นที่ในการขยับตัวได้น้อยลง และมีโอกาสสูงมากที่สายสะดือที่อยู่รอบตัวจะมากดทับ ทำให้สารอาหารและออกซิเจนถูกลำเลียงไปให้กับทารกนั้นลดลงตามไปด้วย ซึ่งเสี่ยงต่อทารกเสียชีวิตในครรภ์ได้สูงมาก
6. คุณแม่เกิดภาวะซีด
ซึ่งจากการศึกษาแล้วพบว่าการตั้งครรภ์แฝดนั้น มีโอกาสทำให้คุณแม่มีภาวะซีดได้สูงถึง 27.5% โดยมีสาเหตุมาจาก การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายที่มากกว่าการตั้งครรภ์แบบปกติ โดยจะมีปริมาณการไหลเวียนเลือดเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสสุดท้ายจะเพิ่มสูงถึง 50-60% เลยทีเดียว ส่งผลให้ร่างกายต้องการธาตุเหล็กและโฟเลทของทารกในครรภ์สูงมากขึ้นด้วยเช่นกัน จึงทำให้คุณแม่มีโอกาสเกิดภาวะซีดได้สูงกว่าการตั้งครรภ์เดี่ยวนั่นเอง
เป็นอย่างไรกันบ้าง สำหรับ ภาวะเสี่ยงในการตั้งครรภ์แฝด ที่เรานำมาฝากกันในวันนี้ จะเห็นได้ว่า การตั้งครรภ์แฝดนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย คุณจะต้องเฝ้าสังเกตอาการ และความผิดปกติต่างๆที่อาจเกิดขึ้นได้ เพื่อให้ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ถึงแม้ว่าการตั้งครรภ์ลักษณะนี้จะมีความเสี่ยงสูง แต่คุณก็สามารถควบคุมและลดความเสี่ยงเหล่านี้ลงได้ โดยการเตรียมความพร้อมก่อนการตั้งครรภ์อย่างเต็มที่ ตรวจสุขภาพอย่างละเอียด ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อการตั้งครรภ์ที่แข็งแรงสมบูรณ์ และปลอดภัยนั่นเอง