5 เคล็ดลับ จัดการกับนิสัยเอาแต่ใจของลูกอย่างได้ผล

วิธีรับมือกับนิสัยเอาแต่ใจของลูก ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่พ่อแม่หลายคนจะต้องพบเจออย่างแน่นอน โดยเฉพาะเด็กอายุ 2 ขวบ ซึ่งถือเป็นวัยแห่งการเรียนรู้ มีความต้องการ และมีความเป็นตัวของตัวเองสูงมากขึ้น ทำให้ลูกนึกถึงตัวเองมากกว่าผู้อื่น มีนิสัยที่ดื้อ ซนไม่ยอมใครง่ายๆ อีกทั้งยังมีพฤติกรรมเรียกร้องสูง อยากได้ หรืออยากทำอะไรต้องได้ทำ ทั้งนี้พฤติกรรมส่วนใหญ่ที่ลูกเป็น เป็นไปตามช่วงวัย และถ้าหากคุณพ่อคุณแม่ตอบสนองด้วยการตามใจทุกเรื่อง จะทำให้ลูกเคยตัว และมีนิสัยดื้อรั้นเอาแต่ใจมากขึ้นนั่นเอง วันนี้เราจึงได้รวบรวมเคล็ดลับในการจัดการกับนิสัยเอาแต่ใจของลูกให้อยู่หมัด จะมีวิธีใดบ้างนั้นไปติดตามกันเลย

1. ปลูกฝังเรื่องกฎระเบียบตั้งแต่เด็ก

1. ปลูกฝังเรื่องกฎระเบียบตั้งแต่เด็ก

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าในช่วงวัยเรียนรู้นั้นเป็นอีกหนึ่งช่วงวัยที่ค่อนข้างเลี้ยงยาก คุณพ่อคุณแม่จะต้องใช้ความเข้าใจผสมผสานกับการเรียนรู้ไปพร้อมๆกับลูกอย่างมีขอบเขต ไม่ปิดกั้นจนเกินไปและต้องมีข้อกำหนดอย่างชัดเจนเพื่อให้เด็กสามารถควบคุมตนเองได้ดีมากขึ้น ใช้คำพูดที่สั้น กระชับ ให้เด็กเข้าใจง่าย โดยไม่ต้องตะคอก เป็นน้ำเสียงที่ปกติ แต่เด็ดขาด จะช่วยให้ลูกมีวินัยและลดความเอาแต่ใจลงได้

2. ฝึกฝนให้ลูกรู้จักการรอคอย

2. ฝึกฝนให้ลูกรู้จักการรอคอย

ถือเป็นอีกหนึ่งข้อที่มีความสำคัญอย่างมาก พ่อแม่ส่วนใหญ่มักจะตามใจและตอบสนองทุกความต้องการของลูกอย่างรวดเร็ว จนทำให้ลูกติดนิสัยรอคอยไม่เป็น อยากได้อะไรต้องได้ดั่งใจ ทันที ณ ขณะนั้น ซึ่งถ้าหากคุณตอบสนองลูกในทันทีจะทำให้เขามีนิสัยเอาแต่ใจมากยิ่งขึ้น ซึ่งข้อนี้ คุณสามารถฝึกลูกได้หลายวิธี มันพยายามพาเขาไปเจอสถานการณ์ที่ต้องรอคอย เช่น รอต่อคิวจ่ายเงิน รอต่อแถวซื้อขนม หรือให้ช่วยทำงานบ้านก่อนที่จะมาเล่นด้วยกัน เป็นต้น

3. ใจดี แต่ต้องไม่ตามใจ

3. ใจดี แต่ต้องไม่ตามใจ

การจะฝึกฝนวินัยให้กับลูกนั้นคุณพ่อคุณแม่ไม่จำเป็นต้องเป็นแม่ใจร้ายในสายตาของลูก เพียงแค่คุณไม่จำเป็นต้องตามใจลูกในทุกเรื่อง เพราะการตามใจนั้นจะส่งผลให้ลูกยึดตัวเองเป็นศูนย์กลางของทุกสิ่ง ซึ่งเป็นเรื่องที่อันตรายและน่ากลัวมากในอนาคต จะทำให้เขาอยู่ในสังคมได้ยาก ดังนั้นให้ฝึกความอดทนของลูก นอกจากรอคอยให้เป็นแล้ว คุณต้องไม่ตอบสนองกับลูกทุกสิ่ง ให้เลือกตามใจในสิ่งที่เหมาะสมและถ้าหากสิ่งไหนไม่สามารถทำได้ให้คุณอธิบายอย่างมีเหตุผลให้ลูกเข้าใจ วิธีนี้นอกจากจะช่วยลดนิสัยเอาแต่ใจลงได้แล้วยังช่วยให้ลูกมีเหตุผลมากยิ่งขึ้นอีกด้วย

4. มีเหตุผลกับลูกเสมอ

4. มีเหตุผลกับลูกเสมอ

คุณพ่อคุณแม่หลายท่านอาจคิดว่าการอธิบายเหตุผลให้เด็กฟังนั้นเป็นเรื่องที่เสียเวลาเพราะเด็กส่วนใหญ่จะไม่ยอมรับฟัง แต่คุณทราบหรือไม่ว่าลูกนั้นมีพัฒนาการที่รวดเร็ว สมองของเด็กสามารถแยกแยะและยอมรับฟังเหตุผลได้เสมอ  สิ่งไหนที่ไม่สามารถทำได้ให้คุณอธิบายเหตุและผล ไม่ใช่แค่ห้ามปรามอย่างเดียว จะช่วยลดอาการต่อต้านลงได้อีกด้วย

5. ทำโทษลูกเมื่อจำเป็น

5. ทำโทษลูกเมื่อจำเป็น

เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่คุณพ่อคุณแม่สามารถทำได้แต่จะต้องมีเหตุผลและไม่ทำบ่อยจนลูกไม่กลัว ที่สำคัญคุณจะต้องควบคุมอารมณ์ตัวเองให้ดีไม่โมโหเกรี้ยวกราดหรือใช้วิธีรุนแรงกับลูก เพราะนอกจากจะไม่ทำให้ลูกหยุดพฤติกรรมนิสัยเอาแต่ใจเหล่านั้นแล้วยังทำให้ลูกซึมซับอารมณ์เกรี้ยวกราดเหล่านั้นและทำให้เป็นเด็กมีปัญหาในอนาคตได้ เช่น ถ้าหากลูกไม่ยอมแปรงฟันจะให้งดขนมหวาน หรือถ้าหากเล่นแล้วไม่เก็บ จะไม่ซื้อของเล่นให้ใหม่เป็นต้น 

เป็นอย่างไรกันบ้างสำหรับเคล็ดลับ วิธีรับมือกับนิสัยเอาแต่ใจของลูก ที่เรานำมาฝากกันในวันนี้ จะเห็นได้ว่านิสัยเอาแต่ใจของเด็กนั้นเป็นไปตามช่วงวัย และขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดูของคุณพ่อคุณแม่เป็นหลัก ดังนั้นถ้าหากคุณรู้สึกว่าลูกมีนิสัยเอาแต่ใจมากจนเกินไป จะต้องมีเทคนิคในการเลี้ยงลูกเพิ่มมากขึ้น ไม่ตอบสนองกับลูกเร็วจนเกินไป มีจิตวิทยาในการพูดคุย ดังเคล็ดลับดังกล่าวที่เรานำมาฝากกันในวันนี้เชื่อว่าจะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่นั้นปรับพฤติกรรมของลูกให้มีวินัย และเป็นเด็กมีเหตุผล มากยิ่งขึ้น สำหรับบ้านไหนที่กำลังประสบกับปัญหาลูกน้อยเอาแต่ใจดื้อรั้น ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลางอยู่นั้นเคล็ดลับดังกล่าวข้างต้นจะช่วยให้ลูกมีพฤติกรรมที่ดีขึ้นอย่างแน่นอน

Facebook
Twitter