5 วิธีรับมือกับนิสัย เถียงคำไม่ตกฟากของลูก พร้อมกับสาเหตุและวิธีแก้ปัญหาที่ถูกต้อง

วิธีรับมือกับนิสัยเถียงคำไม่ตกฟากของลูก อีกหนึ่งปัญหาที่สร้างความกังวลใจให้กับแม่ๆได้มากเลยทีเดียวกับนิสัยชอบพูด ชอบเถียงของเด็กๆ ซึ่งคุณทราบหรือไม่ว่า เป็นอีกหนึ่งพัฒนาการของลูกน้อยในช่วง 3-5 ปี ที่กำลังมีความคิดเป็นของตนเองและกำลังฝึกฝนกระบวนการความคิดให้พัฒนาขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง ถ้าสังเกตดีๆจะพบว่าในช่วงนี้ลูกจะมีทักษะการสื่อสารที่ดีมากยิ่งขึ้นจึงใช้ยามใช้คำพูดที่จะอธิบายความรู้สึกและแสดงความต้องการของตนเองให้มากขึ้นกว่าเดิมจนอาจกลายเป็นการเถียงพ่อแม่ขึ้นได้ แต่ที่จริงแล้วลูกแค่จะพยายามสื่อสารและอธิบายทุกอย่างที่เขาต้องการให้คุณทราบเท่านั้นเอง ดังนั้นจำเป็นอย่างมากที่คุณจะต้องมีวิธีการรับมือกับคำถามหรือปัญหาเหล่านั้นได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ซึ่งจะทำให้พัฒนาการของลูกนั้นก้าวกระโดดและไม่เป็นการตัดโอกาสทางความคิดของลูกด้วย 

1. ไม่เข้าใจความหมายของภาษาอย่างถ่องแท้

1. ไม่เข้าใจความหมายของภาษาอย่างถ่องแท้

ถือเป็นสาเหตุหลักเลยที่ทำให้ลูกอาจจะใช้ภาษาในรูปแบบที่ไม่เหมาะสมมากนัก เพราะภาษาไทยส่วนใหญ่แล้วมีความหมายที่ลึกซึ้ง ถ้าหากยังสื่อสารไม่คล่องแคล่ว อาจทำให้กลายเป็นภาษาที่ห้วน ดูไม่น่าฟังเหมือการเถียง แต่อันที่จริงแล้วลูกอาจแค่อธิบายถึงความรู้สึกของเขาในขณะนั้น เท่านั้นเอง เช่น เมื่อเขารู้สึกไม่อยากทำ ให้คุณพ่อคุณแม่พยายามใช้คำพูดหรือเรียบเรียงภาษาให้ลูกเข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น จะช่วยให้ลูกซึมซับและใช้ภาษาได้ดียิ่งขึ้น

2. อาจเกิดจากการเลียนแบบพฤติกรรมของคนใกล้ชิด

2. อาจเกิดจากการเลียนแบบพฤติกรรมของคนใกล้ชิด

ธรรมชาติของเด็กนั้นมักจะเรียนรู้กับสิ่งที่อยู่รอบตัว ถ้าหากสิ่งแวดล้อมของลูกเต็มไปด้วยการพูดจาโต้เถียง หรือมีพฤติกรรมที่พูดห้วนๆไม่น่าฟัง ลูกก็จะเรียนแบบและจดจำนำมาทำตามบ้าง เพราะคิดว่าเป็นพฤติกรรมที่ถูกต้องใครๆก็ทำกันทั่วไป ดังนั้น แนะนำว่าให้พยายามหลีกเลี่ยงภาษาหรือพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมเวลาอยู่ต่อหน้าลูก งดการโต้เถียง และลดการใช้สีหน้าท่าทางที่ไม่เหมาะสม ให้ควบคุมสติและอารมณ์ให้อยู่ จะช่วยลดพฤติกรรมการเถียงพ่อแม่ลงได้มากเลยทีเดียว

3. ยอมรับและเข้าใจว่าเป็นธรรมชาติของเด็ก

3. ยอมรับและเข้าใจว่าเป็นธรรมชาติของเด็ก

คุณพ่อคุณแม่จะสังเกตได้ว่าการถกเถียงนั้นเป็นเรื่องธรรมดาของเด็กในวัยที่กำลังช่างพูดช่างจา ให้คุณพยายามเข้าใจว่านี่คือธรรมชาติของเด็กซึ่งแต่ละคนอาจจะมีวิธีการแสดงออกที่แตกต่างกัน เด็กบางคนโต้เถียงเพราะอาจจะแสดงความรู้สึกที่ไม่เห็นด้วย และพยายามที่จะบอกกล่าวถึงสิ่งที่เขาต้องการ ในขณะที่เด็กบางคนไม่ใช้การถกเถียงแต่เป็นพฤติกรรมที่นิ่งเฉยแต่ไม่เชื่อฟังก็มี ซึ่งถ้าเป็นลักษณะนี้แนะนำว่าให้คุณสังเกตพฤติกรรมของลูกและพยายามปรับตัวเข้าหาลูกไม่ปิดกั้นในการแสดงความคิดเห็นของลูก และไม่ออกคำสั่ง เพราะ จะยิ่งทำให้ลูกนั้นเกิดการต่อต้านมากยิ่งขึ้นนั่น  

4. ถกเถียงเพื่อต้องการเป็นที่ยอม

4. ถกเถียงเพื่อต้องการเป็นที่ยอม

อีกหนึ่งสาเหตุที่คุณพ่อคุณแม่ต้องเปิดใจของพฤติกรรมการชอบเถียงของลูกนั่นคือการอยากให้ตัวเองเป็นที่ยอมรับของคนอื่นมากยิ่งขึ้น จึงพยายามที่จะอธิบายความคิดของตนเองออกมา และถ้าหากเกิดการคัดค้านหรือปฏิเสธขึ้น ลูกก็อาจจะมีพฤติกรรมที่หาเหตุผลมาอธิบาย ให้ตนเองเป็นที่ยอมรับมากยิ่งขึ้นจนได้ซึ่งก็ถือเป็นอีกหนึ่งวิธีการตอบสนองของเด็ก ซึ่งทางที่ดีคุณไม่ควรตอบสนองลูกด้วยการพูดตำหนิ เพราะจะทำให้เป็นสาเหตุของการเริ่มเถียงมากขึ้นได้ นอกจากนี้การถูกตำหนิ ยังทำให้ลูกขาดความมั่นใจในตนเองอีกด้วย

5. คุณต้องเปิดใจรับฟังด้วยเหตุและผล

5. คุณต้องเปิดใจรับฟังด้วยเหตุและผล

สิ่งที่คุณจะรับมือได้ดีที่สุดคือการปรับอารมณ์ให้เย็นลง และเคารพในการตัดของลูก ถ้าหากลูกเถียง ให้คุณหยุดและรับฟังเขา อย่าเพิ่งตอบโต้ในทันที ให้เขาอธิบายสิ่งที่อยู่ในใจออกมาให้หมดก่อน จะทำให้ลูกรู้สึกว่า พ่อแม่เป็นแบบอย่างที่ดี ใจเย็น รับฟังเหตุผลและไม่โมโหใส่ จะทำให้ลูกซึมซับพฤติกรรมเหล่านั้น และเรียนรู้การพูดคุยด้วยเตุผลกันมากยิ่งขึ้น จนค่อยๆลดพฤติกรรมชอบเถียงคำไม่ตกฟากลงไปในที่สุด

เป็นอย่างไรกันบ้างสำหรับเคล็ดลับ วิธีรับมือกับนิสัยเถียงคำไม่ตกฟากของลูก ที่เรานำมาฝากกันในวันนี้ จะเห็นได้ว่า ถ้าหากคุณเข้าใจสาเหตุ และเข้าใจตัวตนของลูกเป็นอย่างดี จะทำให้คุณสามารถรับมือกับพฤติกรรมเหล่านี้ของลูกได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพราะคุณคือคนที่ใกล้ชิดกับลูกมากที่สุด ถ้าคุณหยุดรับฟังเขามาขึ้น รู้ว่าเขาต้องการอะไร เราจะสามารถสอนเขาได้อย่างตรงประเด็นและลดพฤติกรรมการเถียงคำไม่ตกฟากลงได้ในที่สุดนั่นเอง สำหรับบ้านไหนที่กำลังประสบกับปัญหาลูกชอบเถียงพ่อแม่อยู่นั้น คุณสามารถนำเคล็ดลับเหล่านี้ไปปรับใช้ให้เหมาะสมในชีวิตประจำวันได้เลยรับรองว่าลูกจะมีพฤติกรรมที่ดีขึ้นอย่างแน่นอน 

Facebook
Twitter