วิธีระวังลูกน้อยให้ห่างไกลจากภัยเงียบ “โรคไข้เลือดออก” !

ในยุคปัจจุบัน มีโรคอันตรายเยอะแยะมากมายที่ทำให้คุณพ่อคุณแม่อดห่วงลูกน้อยของคุณไม่ได้ อาจกลัวลูกเจ็บไข้ได้ป่วยบ้าง เพราะกังวลใจกับโรคติดต่อจากโรงเรียนบ้าง วันนี้จะมาพูดเกี่ยวกับประเด็นของ “โรคไข้เลือดออก” ถึงวิธีการป้องกันไม่ให้ลูกน้อยของคุณเป็นโรคนี้ และบอกถึงวิธีรับมือว่าควรทำอย่างไรหากเกิดโชคร้ายเป็น “โรคไข้เลือดออก” สาเหตุของการเป็น “ไข้เลือดออก” อย่างที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าโรคนี้มี “ยุงลาย” เป็นพาหะนำโรค การถูกยุงลายกัดเป็นปัจจัยสำคัญทำให้เราสามารถเป็นไข้เลือดออกได้ โดยยุงลายเพศเมียที่ดูดเลือดของผู้ป่วยที่มี “เชื้อไวรัสเดงกี่” โดยเชื้อไวรัสนี้จะเข้าไปเติบโตในท้องยุงลาย และเมื่อหากยุงลายตัวที่มีเชื้อไวรัสนี้อยู่แล้วไปกัดคนต่อ ก็จะทำให้เชื้อวัยรัสชนิดนี้แพร่กระจายไปยังคนที่ถูกกัด ทำให้คนผู้นั่นเป็น “ไข้เลือดออก” อาการของคนเป็น “ไข้เลือดออก” ส่วนใหญ่อาการของคนเป็นไข้เลือดออก มักจะแสดงหลังจากได้รับเชื้อแล้ว ประมาณ 5 – 8 วัน จะมีไข้ขึ้นสูงประมาณ 2-7 วัน อุณหภูมิในร่างกายลดต่ำลงอย่างผิดปกติ ปวดศีรษะ หน้าแดง อ่อนเพลีย ซึม รับประทานอาหารไม่ได้เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ติดต่อกัน ทั้งยังมีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง หายใจลำบาก หายใจถี่ รู้สึกหงุดหงิด สับสน กระสับกระส่าย ในบางรายจะมีจุดเลือดสีแดงขึ้นตามร่างกาย ลำตัว บริเวณแขน ขา นอกจากนี้ยังมีเลือดออกตามไรฟัน และมีเลือดกำเดาไหล […]
วิธี “ถนอมสายตาของลูกน้อย” ไม่ให้เสี่ยงกับการสายตาเสีย !

เมื่อลูกเข้าสู่วัยเรียนก็เริ่มมีพัฒนาการต่างๆ การอ่านหนังสือ ดูทีวี เล่นเกมส์ รวมไปถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ทุกอย่างมีการใช้สายตาที่มากขึ้น ในเด็กบางคนเริ่มมีการใส่แว่นตา วันนี้เราจะมาบอกถึงวิธีถนอมสายตาของลูกว่าควรทำอย่างไร รวมถึงวิธีป้องกันเพื่อถนอมสายตาของลูก ไม่ให้เสี่ยงต่อสายตาเสีย คุณพ่อคุณแม่ส่วนใหญ่มักรู้อยู่แล้วว่า จอเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะกับเด็กเท่าไรนัก เพราะนอกจากจะมีผลต่อพัฒนาการของลูกแล้ว การเพ่งมองจอต่างๆ ทำให้สายตาเราเมื่อยล้า แสบตา ได้อีกด้วย หากจำเป็นที่เด็กไต้องใช้จอมากขึ้น คุณพ่อคุณแม่มีส่วนช่วยลูกหาวิธีป้องกัน และคอยช่วยสอดส่องพฤติกรรมการใช้จอ ใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ของลูกให้มากขึ้น พยายามอย่าให้ลูกจ้องหน้าจอใกล้เกินไป เพราะสายตาของลูกจะได้รับแสงสีฟ้า ซึ่งมีผลกระทบต่อการทำงานของเลนส์ตาและจอประสาทตาได้ หากมีการเพ่ง หรือจ้องมองในระยะที่ใกล้เกินไป ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นฝึกให้ลูกดูหน้าจอโดยเว้นระยะห่างกับสายตาอย่างน้อย ประมาณ 1 ฟุต หรือ 30 เซนติเมตร เพื่อช่วยป้องกันสายตาเสียนั่นเอง การปรับความสว่างของหน้าจออย่างเหมาะสม เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยถนอมสายตาของลูกน้อยได้ ควรปรับความสว่างที่หน้าจออย่างเหมาะสม เพราะในอุปกรณ์ที่มีหน้าจอเหล่านี้จะมีแสงสีฟ้าที่มีพลังงานสูง ซึ่งใกล้เคียงรังสีอัลตราไวโอเลต (UV) ซึ่งมีผลกระทบต่อดวงตาโดยตรง ดังนั้น ทุกครั้งที่จะต้องใช้หน้าจอ ไม่ควรปิดไฟ และในพื้นที่ที่จะต้องใช้จอนั้นต้องมีแสงสว่างเพียงพอ เพื่อเป็นการถนอมสายตาลูก หรืออีกวิธีหนึ่งคือการติดฟิล์มถนอมสายตาบนหน้าจอ เพื่อช่วยลดแสงสีฟ้าจากหน้าจอนั่นเอง การจำกัดเวลาในการเล่นเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ ทุกชนิดเป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่ควรทำ โดยตั้งกฎเกณฑ์เรื่องเวลาในการใช้งานอย่างเช่นคอมพิวเตอร์โทรศัพท์แท็บเลทอาจจะตั้งกฎโดยอนุญาตให้ลูกใช้ภายใน 1 ชั่วโมงต่อวัน อาจในเฉพาะช่วงที่ต้องเรียนออนไลน์เท่านั้น เมื่อถึงวันหยุดอาจเพิ่มเป็น […]
ไม่อยากให้ลูกน้อยมี “เท้าผิดรูป” ต้องดูแลและป้องกันด้วยวิธีนี้ !

คุณพ่อคุณแม่ทุกท่านย่อมอยากเห็นลูกเติบโตมา มีร่างกายที่แข็งแรง เพียบพร้อมได้ด้วยสติปัญญารวมทั้งมีพัฒนาการที่ดี มีสัดส่วนร่างกายที่ครบสมบูรณ์ วันนี้จะมาบอกถึงสาเหตุประเด็นของ “เท้าผิดรูป” ในวัยทารก ที่ใครหลายๆ คนอาจละเลย จนลืมสังเกตความถูกสัดส่วนตรงนี้ไป อาจเพราะเด็กทารกยังเดินไม่ได้ บางครั้งคุณแม่จึงอาจลืมให้ความสำคัญกับอวัยวะส่วนนี้ไป อย่างไรก็ตาม “เท้า” คือสิ่งสำคัญโดยเฉพาะในช่วงแรกเกิด – 5 ขวบ เป็นช่วงที่กระดูกและข้อต่อของเท้าลูกมีการเปลี่ยนแปลงง่าย เรามาดูวิธีดูแลและป้องกันไม่ให้ลูกน้อย “เท้าผิดรูป” กันเลยดีกว่า การสังเกตเท้าของลูกตั้งแต่แรกเกิด ในส่วนมากเท้าทารกแรกเกิดจะมีรูปเท้าที่สมบูรณ์ แต่ในบางกรณีของบางคนที่ผิดปกติ คือ เท้าจะมีลักษณะบิดหมุนเข้าไปด้านใน รูปร่างของกระดูกบางตำแหน่งผิดปกติ เนื่องจากการเรียงตัวของกระดูกเท้า ไปจนถึงความผิดปกติของเอ็น กล้ามเนื้อ เนื้อเยื่ออ่อนของเท้า ซึ่งที่มักถูกเรียกกันว่า “เท้าปุก” หากเกิดอาการเหล่านี้ที่เรียกว่า “เท้าปุก” ควรรักษาโดยการให้แพทย์วินิจฉัย โดยแพทย์จะทำการใส่เฝือกหรือรองเท้าที่ตัดพิเศษ เพื่อไว้ใช้ในการปรับรูปเท้า ให้ค่อยๆ กลับมาเป็นปกติ หรือในบางกรณีอาจต้องใช้วิธีการผ่าตัด ไม่ควรปล่อยให้เท้าผิดรูปนานไปจนถึงวัยหัดเดิน เพราะจะทำให้การเดินของลูกผิดปกติ สาเหตุที่ลูกน้อยมีเท้าผิดรูป ในช่วงแรกเกิดถึงวัย 5 ขวบ เป็นช่วงที่ข้อต่อเท้า กระดูกเท้าของลูกมีลักษณะที่ค่อนข้างบอบบาง นุ่ม มีโอกาสที่จะเปลี่ยนแปลงรูปทรง หรือเท้าผิดรูปได้ง่าย และการสวมใส่รองเท้าถุงเท้าที่ไม่พอดีกับเท้าก็เป็นสาเหตุให้เท้าผิดรูปได้ วิธีดูแลและป้องกันไม่ให้ลูกน้อยมี […]
เมื่อ “ลูกก้าวร้าว” พ่อแม่ควรจัดการกับพฤติกรรมของลูกอย่างไร !?

เป็นเรื่องหนักอกหนักใจของคุณพ่อคุณแม่หลายๆท่าน เวลาที่เห็นลูกมี “พฤติกรรมก้าวร้าว” อาจพูดจาไม่เพราะ อารมณ์ฉุนเฉียว เกรี้ยวกราดผิดปกติ ซึ่งบางครั้งก็ทำให้คุณพ่อคุณแม่ตกใจอยู่ไม่น้อย จนอดกลุ้มใจไม่ได้ว่าจะแก้ปัญหา วันนี้จะมาพูดถึงวิธีรับมือกับพฤติกรรมก้าวร้าวของลูก ว่าคุณพ่อคุณแม่ควรทำอย่างไร รวมทั้งสาเหตุและวิธีป้องกันพฤติกรรมไม่ดรเหล่านี้ ก่อนอื่นคุณพ่อคุณแม่ควรทราบถึงสาเหตุที่มา ของความก้าวร้าวของลูกก่อน ว่ามาจากที่ใด ส่วนใหญ่เด็กเล็กที่ยังมีพัฒนาการด้านสติปัญญาการเจริญเติบโตของสมอง ที่ยังไม่สมบูรณ์ในขณะที่สมองส่วนอารมณ์พัฒนาไปเร็วกว่า จึงส่งผลให้เด็กมีการ ยังยับยั้งช่างใจได้น้อย ในส่วนของครอบครัวก็มีผลต่อเด็กมาก ยกตัวอย่างเช่น บางครอบครัวอาจมีการแก้ปัญหาโดยการใช้อารมณ์ ในการพูดการกระทำ การแสดงออก ซึ่งอาจทำให้เด็กเรียนรู้ไปตามอัตโนมัติว่า เมื่อไหร่ที่เกิดสถานการณ์ตึงเครียด เด็กก็อาจจะแสดงอารมณ์ที่ไม่เหมาะสมออกมาเพื่อใช้ในการแก้ปัญหา การเลียนแบบพฤติกรรมของเพื่อน หรือสื่อต่างๆ ที่มีความรุนแรง ไม่เหมาะสมนั้น เมื่อลูกได้พบเห็นก็อาจซึมซับทำให้เขามีพฤติกรรมลอกเลียนแบบได้ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นใส่ใจลูก สอบถามลูกถึงเหตุการณ์ต่างๆ ที่โรงเรียนว่าพบเจออะไรบ้าง พยายามทำให้ลูกไว้วางใจในการเล่าเรื่องราวต่างๆให้ฟัง การมีโรคประจำตัวเรื้อรังนั้นก็เป็นสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้ลูกมีพฤติกรรมก้าวร้าวได้ อย่างเช่นเด็กที่เคยได้รับอุบัติเหตุทางสมอง เคยมีเลือดออกในสมอง หรือต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ เด็กที่เป็นโรคลมชัก สมองอักเสบ ส่งผลให้สมองของลูกทำหน้าที่ได้ไม่สมบูรณ์ จนเกิดลักษณะอารมณ์แปรปรวนมีการรับรู้ทางระบบประสาทผิดปกติ แล้วพ่อแม่ควรรับมือกับ “พฤติกรรมก้าวร้าว” นี้อย่างไร สิ่งแรกเลยที่คุณพ่อคุณแม่ต้องทำ คือการควบคุมจัดการกับอารมณ์ของตัวเองให้ได้เสียก่อน ใจเย็นๆ และรับฟังลูกว่าต้องการสื่อสารอะไรกับพ่อแม่ ให้ลูกได้บอกความต้องการของเขา ให้เขาได้ระบายสิ่งอัดอั้นในใจ เพื่อทำให้เขารู้สึกสบายใจมากขึ้น โดยที่พ่อแม่ต้องตั้งใจฟัง […]
วิธีดูแล “สะดือ” ของลูกน้อยตั้งแต่วันแรกที่ออกจากโรงพยาบาล!

คุณแม่มือใหม่หลายๆ ท่านที่กำลังมีความกังวลเกี่ยวกับการทำความสะอาดสะดือของลูก กลัวว่าลูกจะเจ็บเมื่อไปแตะต้องหรือหากกำลังกังวลว่าจะทำความสะอาดสะดือของลูกอย่างไร ไม่ให้ติดเชื้อ อย่าเพิ่งกังวลใจไปนะคะ วันนี้จะมาบอกถึงวิธีการทำความสะอาดสะดือลูกน้อยว่าควรทำอย่างไร โดยไม่ต้องกลัวลูกน้อยเจ็ดอยากลุกไปดูกันเลย การทำความสะอาดสะดือของทารกแรกเกิด เป็นสิ่งสำคัญมากขณะที่ทารกยังอยู่ในครรภ์นั้น “สายสะดือ” จะเป็นตัวเชื่อมระหว่างรกกับทารก มีความยาวประมาณ 50 – 60 ซม. ภายในสะดือจะประกอบด้วยเส้นเลือด 3 เส้น คือ เส้นเลือดดำ 1 เส้นขนาดใหญ่ ที่นำอาหารและออกซิเจนให้ทารก และมี เส้นเลือดแดงขนาดเล็กอยู่ 2 เส้น จะทำหน้าที่ นำของเสียออกจากร่างกายทารก ดังนั้นการทำความสะอาดสะดือลูกน้อยตั้งแต่วันแรก คือสิ่งสำคัญที่คุณแม่ต้องคอยระวัง อย่างพิถีพิถันให้มากๆ หลังคลอดทารกคุณหมอจะทำการตัดสายสะดือไว้ยาว ซึ่งเป็นเส้นสายหล่อเลี้ยงทารกตั้งแต่ตอนอยู่ในครรภ์ออก แล้วผูกสะดือไว้ด้วยเชือกสีขาว แม่กลับบ้านแล้วก็ควรต้องหมั่นดูแลทำความสะอาดสะดือของลูกน้อยเพราะง่ายแก่การติดเชื้อ วิธีทำความสะอาดสะดือของลูกน้อย มี 2 แบบ คือ การทำความสะอาดสะดือที่เรียกว่า “สะดือแห้ง” หมายถึงการทำความสะอาดสะดือเป็นประจำทุกวัน หลังจากที่คลอดไปแล้ว 24 ชั่วโมง “สะดือเปียก” หมายถึงการทำความสะอาดสะดือที่อยู่ภายใน 24 ชั่วโมงแรกหลังการคลอด การทำความสะอาดสะดือของลูกน้อย อันดับแรกคือคุณควรเตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ทำความสะอาดให้เรียบร้อย ให้พร้อมแก่การใช้งาน […]
โรคมือเท้าปาก กับ โรคไข้หวัดใหญ่ โรคอันตรายในเด็ก ช่วงฤดูฝน !

คุณพ่อคุณแม่ทุกคนย่อมดูแลลูกเป็นพิเศษอยู่แล้ว การที่เห็นลูกน้อยเติบโตมาโดยมีสุขภาพแข็งแรง ก็คือความสุขของคนเป็นพ่อเป็นแม่ แต่หลายๆ ฤดูกาลในบ้านเราก็น่าเป็นห่วง อย่างในหน้าร้อน หน้าหนาว และหน้าฝน ก็มีโรคอันตรายหลายสิ่งที่เกรงว่า อาจจะเกิดกับลูกน้อยได้ วันนี้จะมาพูดถึงประเด็น “โรคอันตรายในเด็ก” ที่คุณแม่ควรระมัดระวัง โรคภัยไข้เจ็บเป็นเรื่องที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นกับลูกแน่นอน โรคติดต่อต่างๆที่เด็กสามารถติดกันได้ง่ายจากที่โรงเรียนก็มีอยู่มาก การป้องกันโรคของลูกน้อยโดยการฉีดวัคซีนก็สำคัญ คุณพ่อคุณแม่ควรเล็งเห็นความสำคัญเหล่านี้ ในช่วงหน้าฝน มีโรคอันตรายที่ควรระวัง คือดังนี้ “โรคไข้หวัดใหญ่” เป็นโรคที่มักจะมีคนเป็นในช่วงฤดูฝน อาการป่วยมักจะเริ่มหลังจากรับเชื้อแล้ว 1 – 4 วัน โดยเฉลี่ยแล้วภายในวันที่สองถึงจะเริ่มสามารถสังเกตอาการได้ เด็กที่พี่เป็นโรคไข้หวัดใหญ่ คืออาการมีไข้ขึ้นสูง 39 – 40 องศาเซลเซียส ติดต่อกัน 3 – 4 วัน จะมีอาการหนาวสั่น และหัวใจเต้นเร็ว ต่างจากไข้หวัดธรรมดาที่มีไข้ขึ้นไม่สูงมากนัก สิ่งสำคัญที่ช่วยแยกระหว่างอาการ “ไข้หวัดธรรมดา กับ ไข้หวัดใหญ่” คือ เด็กที่ป่วยเป็นไข้หวัดธรรมดาจะมีไข้ไม่สูงมากนัก แต่ไข้หวัดใหญ่นั้น จะมีอาการไข้ขึ้นสูงและปวดเมื่อยตามร่างกาย อ่อนเพลีย และเบื่ออาหารร่วมด้วย บางรายอาจต้องนอนรักษาตัวที่โรงพยาบาล เนื่องจากมีอาการแทรกซ้อน อย่างเช่น […]