โรคลมแดด (Heat stroke) เป็นภาวะที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ไม่เพียงแต่ในผู้ใหญ่เท่านั้น ด้วยสภาวะอากาศที่ร้อนอบอ้าวของประเทศไทย ที่ปัจจุบันมีอุณหภูมิสูงทะลุ 40 องศาเซียลเซียสไปแล้ว และยังคงมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้ประชาชนมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคลมแดดสูงมาก เนื่องจากร่างกายไม่สามารถระบายความร้อนได้ออกมาอย่างทันท่วงที
ยิ่งถ้าหากรักษาไม่ทันอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้เลยทีเดียว และที่น่าเป็นกังวลมากกว่านั้น โรคลมแดดสามารถเกิดขึ้นกับเด็กได้ด้วยเช่นกัน ซึ่งเด็กไม่สามารถที่จะมีวิธีจัดการตัวเองได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมจึงเป็นหน้าที่ของคุณพ่อคุณแม่ที่จะต้องสังเกตอาการของลูก วันนี้เราจึงมีข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับโรคฮิสโตรกมาฝากกัน จะมีสิ่งใดน่าสนใจบ้างนั้นไปติดตามกันเลย

1. ลักษณะของ โรคลมแดด (Heat stroke)
เมื่อเข้าสู่ฤดูร้อนหลายคนจะนึกถึงโรคนี้กันเป็นอันดับแรก ลักษณะทั่วไปของโลกนี้คือจะเป็นภาวะที่การทำงานของระบบประสาทส่วนกลางนั้นมีความผิดปกติ ทำให้อวัยวะภายในร่างกายของคนเรานั้นเกิดการล้มเหลวแบบเฉียบพลัน โดยเฉพาะเมื่อร่างกายมีอุณหภูมิสูงมากกว่า 40.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป ยิ่งเสี่ยงต่อการเป็นโรคลมแดดมากยิ่งขึ้น

2. ประเภทของโรคฮิสโตรก
สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทหลักๆคือ Classical Heat Stroke เป็นลักษณะของโรคที่เกิดจากสภาวะแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูงมากจนเกินไป พบได้บ่อยในผู้สูงอายุและผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอหรือมีโรคเรื้อรัง ที่จะทำให้ระบบประสาทส่วนกลางนั้นทำงานผิดปกติ เดี๋ยวจะทำให้อุณหภูมิร่างกายพุ่งสูงขึ้น โดยที่ไม่มีเหงื่อ จนทำให้เกิดภาวะช็อกขึ้นได้
Exertional Heat Stroke เป็นโรค Heat Stroke ที่เกิดจากการออกกำลังกาย หนักหรือหักโหมมากจนเกินไป ทำให้ร่างกายไม่สามารถปรับตัวได้ เกิดขึ้นบ่อยในผู้ที่ใช้แรงงานหรือนักวิ่ง ทำให้ระบบภายในร่างกายล้มเหลวเหงื่อไม่ไหล เซลล์กล้ามเนื้อลายสลาย ร่างกายเกิดภาวะช็อกไตวายเฉียบพลัน หรือถึงขั้นหมดสติ และเสียชีวิตได้ในที่สุด

3. ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคลมแดด
จากการสำรวจสถานการณ์ในปัจจุบันพบว่าปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค Heat Stroke นั้นมีหลายปัจจัยด้วยกัน โดยเฉพาะสิ่งแวดล้อมที่เราไม่สามารถควบคุมได้ เกิดจากการไปสัมผัสกับคลื่นความร้อนอุณหภูมิสูงมากกว่า 40 องศาเป็นเวลานาน โดยเฉพาะในเด็กเล็กที่ไม่สามารถดูแลตัวเองได้อย่างถูกวิธี อยู่กลางแจ้งเป็นเวลานานก็สามารถเกิดโรคลมแดดได้
ปัจจัยทางด้านสรีระก็มีส่วนช่วยให้เกิดโรคลมแดดได้เช่นกันคือร่างกายไม่สามารถระบายความร้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตอบสนองกับอุณหภูมิสูงช้ากว่าปกติ ทำให้ระบบภายในร่างกายรวนผิวหนังไม่สามารถระบายความร้อนได้ดี จนอาจทำให้อวัยวะภายในร่างกายล้มเหลวเฉียบพลันได้ สำหรับเด็กนั้นจะอยู่ในปัจจัยทางสังคม ซึ่งเป็นกลุ่มที่ไม่สามารถดูแลตัวเองได้ จะต้องอาศัยผู้ปกครองที่คอยดูแลให้อยู่ในสถานที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก เป็นต้น

4. การรักษาโรคลมแดดที่ถูกต้อง
เบื้องต้นคุณจะต้องทำการย้ายผู้ป่วยเข้าไปอยู่ในสถานที่ที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ในร่ม ให้นอนราบและยกเท้าสูงทั้งสองข้าง จากนั้นทำการลดอุณหภูมิภายในร่างกายให้เย็นลง ด้วยการใช้ผ้าเย็นหรือนำน้ำแข็งมาประคบตามหลอดเลือดใหญ่เช่น รักแร้ ซอกคอ ขาหนีบ ศีรษะ เพื่อเป็นการระบายความร้อนอย่างรวดเร็ว โดยให้อุณหภูมิลดลงต่ำกว่า 39 องศาเซลเซียส แล้วรีบนำตัวส่งโรงพยาบาลทันที มาหาผู้ป่วยมีภาวะช็อคให้รีบทำการ CPR เพื่อช่วยเหลือชีวิตเบื้องต้น

5. วิธีการป้องกัน และหลีกเลี่ยงภาวะช็อคจากลมแดดในเด็ก
ที่ดีที่สุดคือ หลีกเลี่ยงการไปสถานที่แออัดที่มีความร้อนสูง ดื่มน้ำให้เพียงพอ อย่างน้อยควรดื่มน้ำ 1-2 แก้วก่อนออกจากบ้าน และระหว่างวันควรดื่มน้ำให้เพียงพอ 6-8 แก้ว จะช่วยให้ร่างกายเซ็ตตัว และอวัยวะภายในทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ในช่วงฤดูร้อนนี้ให้คุณพ่อคุณแม่เลือกเสื้อผ้าที่สามารถระบายความร้อนได้ดีให้กับลูก ต้องไม่ด่าและไม่บางจนเกินไป มีน้ำหนักเบา ใส่แล้วไม่อึดอัด
นอกจากนี้การออกกำลังกายหนักและหักโหมจนเกินไปก็เสี่ยงต่อการเป็นโรค Heat Stroke ได้ด้วยเช่นกัน หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายในวันที่อากาศร้อนจัด และต้องดื่มน้ำให้เพียงพอระหว่างออกกำลังกาย สำหรับเด็กและผู้สูงอายุไม่ควรอยู่ในสถานที่อาบและอากาศถ่ายเทไม่สะดวก ก็จะสามารถช่วยป้องกันและหลีกเลี่ยงภาวะช็อกจากโรคลมแดดเบื้องต้นได้
เป็นอย่างไรกันบ้างสำหรับ โรคลมแดด (Heat stroke) ที่เรานำมาฝากกันในวันนี้จะเห็นได้ว่าเป็นโรคที่รุนแรงและอันตรายมากในช่วงฤดูร้อนนี้ จากสถานการณ์ปัจจุบันมีผู้เสียชีวิตจากโรคลมแดดรายวันเลย ดังนั้นสำหรับบ้านไหนที่มีเด็กเล็กหรือผู้สูงอายุจะต้องระมัดระวังและดูแลเป็นพิเศษ วิธีการป้องกัน หรือการรักษาเบื้องต้นที่เรานำมาฝากกันในวันนี้ มีประโยชน์อย่างมาก คุณพ่อคุณแม่สามารถนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันให้เหมาะสม ก็จะสามารถหลีกเลี่ยงโรคลมแดด นี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพแน่นอน