เมื่อ “ลูกพูดไม่เพราะ” คุณพ่อคุณแม่ควรมีวิธีการรับมืออย่างไร !

  เป็นปัญหาหนักอกหนักใจ สำหรับคุณพ่อคุณแม่หลายท่าน หากเมื่อไหร่ที่ได้พบเห็นว่าลูกของเราพูดจาไม่เพราะ หรือมีพฤติกรรมการพูดที่หยาบคาย อย่างที่เราไม่เคยคาดคิด แต่จะเชื่อหรือไม่ว่าจากสถิติส่วนใหญ่ สาเหตุของการที่ลูกพูดไม่เพราะมาจากภายในบ้าน ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรสำรวจตัวเองว่าเผลอพูดคำต่างๆ ที่ไม่เหมาะสมเหล่านั้นออกมาหรือไม่  หากใช่ให้รีบปรับปรุงด่วน โดยการระมัดระวังคำพูดให้มากที่สุด วันนี้จะมาพูดถึงวิธีรับมือ “เมื่อลูกพูดไม่เพราะ” รวมถึงสาเหตุและวิธีป้องกันว่าควรทำอย่างไร

เมื่อ “ลูกพูดไม่เพราะ” คุณพ่อคุณแม่ควรมีวิธีการรับมืออย่างไร !

  ก่อนอื่นต้องทราบสาเหตุกันก่อนว่าทำไม “ลูกถึงพูดไม่เพราะ”  บางครั้งเด็กอาจจะได้รับอิทธิพล ซึมซับคำพูดที่ไม่เพราะทั้งหลายเหล่านั้น มาจากผู้ใหญ่ในบ้าน ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ก็ต้องยอมรับความจริงด้วยว่า ถึงแม้คุณอาจไม่ได้ตั้งใจพูด

ดหรือพูดเพียงครั้งเดียวก็ตาม แต่ต้องเข้าใจด้วยเช่นกันว่าเด็กก็สามารถซึมซับประทับคำพูดต่างๆ ไว้ในสมองได้เช่นกัน สำหรับเด็กในวัยที่กำลังหัดจำ พวกเขาจะจดจำคำพูดของผู้ใหญ่ และนำคำพูดต่างๆ ที่ได้ยินมาพูดตาม

   ที่โรงเรียนก็เป็นส่วนหนึ่ง ซึ่งลูกอาจซึมซับมาจากเพื่อน หรือได้ยินเด็กในโรงเรียนคุยกัน จนจำมาพูดตาม หรือบางครั้งการเสพสื่ออย่างเช่นสื่อทีวี การดูละครต่างๆ คำพูดในทีวี บางครั้งก็เป็นคำพูดที่ไม่เหมาะสม ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรสอนลูกระหว่างที่ดูทีวีไปด้วยกัน โดยค่อยๆ สอนเขาว่าคำพูดนี้เหมาะสมหรือคำพูดนี้ไม่เหมาะสม ก่อนที่เขาจะมีพฤติกรรมลอกเลียนแบบโดยจำคำพูดในทีวีเหล่านั้นมาพูดตาม

  วิธีการสอน “เมื่อลูกพูดไม่เพราะ” การที่ลูกพูดไม่เพราะนั้น คุณพ่อคุณแม่อย่าเพิ่งตกใจ และในขณะเดียวกันก็ห้ามหัวเราะ หรือเห็นเป็นเรื่องขำโดยเด็ดขาด เพราะเด็กจะเข้าใจผิด คิดว่าพ่อแม่คงชอบ คำพูดไม่เพราะเหล่านั้นที่พวกเขาได้พูดออกมา ถึงแม้คุณพ่อคุณแม่จะไม่ชอบก็ควรเก็บไว้ในใจ ไม่ควรต่อว่าเขา หรือตำหนิเขาในทันที แต่คุณพ่อคุณแม่ควรตั้งสติ และค่อยๆ สอนเขาว่า คำพูดนั้นๆ เป็นคำพูดที่ไม่เหมาะ ไม่ควรพูด ไม่น่ารัก และให้เขารู้จักเอ่ยคำขอโทษเมื่อเขาพูดไม่เพราะอีก

  การอธิบาย “คำหยาบ หรือ การพูดไม่เพราะ” ในกรณีที่ลูกยังเป็นเด็กเล็ก ควรใช้คำพูดที่กระชับ เข้าใจง่าย คือการค่อยๆบอกกับลูกว่า คำพูดนี้ไม่น่ารัก พ่อแม่ไม่ชอบคำพูดนี้ และคนอื่นๆ ที่ได้ยินก็ไม่ชอบด้วยเช่นกัน แต่ต้องบอกลูกด้วยท่าทีที่นุ่มนวล การอธิบายให้เหมาะสมกับช่วงวัยของเด็ก บอกเขาด้วยเหตุผล จะทำลูกจะไม่เก็บไปสงสัยและถามคนอื่น แต่การอธิบายด้วยเหตุผลจะคลายความสงสัยของลูก และทำให้ลูกทราบเหตุผลว่าทำไมจึงไม่ควรพูดคำนี้ 

   การพูดไม่เพราะในกรณีที่เริ่มเข้าสู่วัยรุ่น เป็นธรรมดาที่วัยรุ่นมักมีศัพท์สแลง หรือคำพูดไม่สุภาพอย่างเช่น กู มึง ที่มักจะใช้กับกลุ่มเพื่อน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็สามารถผ่อนผันให้พวกเขาได้บ้าง เพราะไม่ถือว่าเป็นคำหยาบคายจนน่าเกลียด แต่ต้องมีข้อตกลงว่าควรใช้กับสถานการณ์ใด และใช้เพียงเฉพาะในกลุ่มเพื่อนเท่านั้น สอนให้ลูกรู้จักกาลเทศะในการใช้คำพูด เด็กควรพูดจาสุภาพกับผู้ใหญ่ในทุกๆ กรณี และการพูด กู – มึง ไม่ควรไปพูดกับคนอื่นนอกจากเพื่อนเท่านั้น 

  ในกรณีที่ห้ามไม่ฟัง ไม่ว่าจะอธิบายให้ลูกเข้าใจจนกระจ่างงก็แล้ว แต่เด็กยังชอบพูดคำหยาบ คุณพ่อคุณแม่จำเป็นต้องมีกติกาและข้อตกลงไว้ เผื่อครั้งหน้าหากลูกพูดคำหยาบอีกจะเกิดผลอย่างไร ซึ่งสุดแท้แต่ว่าบ้านไหนต้องการที่จะกำหนดอะไรในการทำโทษนี้ เพราะต้องขึ้นอยู่กับตัวเด็กด้วย อาจจะมีการเตือนไว้ก่อนถ้ามีครั้งหน้าก็จะมีการลงโทษ จากน้อยไปหามากซึ่งเป็นสิ่งที่คนในบ้านควรมีการตกลงกัน

  อย่างไรก็ตามการสั่งสอนลูกด้วยความใส่ใจคือสิ่งที่ดีที่สุด การระมัดระวังคำพูด เป็นตัวอย่างให้กับลูกค่อนข้างมีอิทธิพลมากที่สุดเช่นกัน การบอกสอนลูกด้วยเหตุและผลเป็นสิ่งที่ทุกบ้านควรทำ เพราะเมื่อเด็กเข้าใจถึงเหตุและผล เด็กก็จะเป็นคนมีเหตุผล และเข้าใจในสิ่งที่เขาควรทำหรือไม่ควรทำต่างๆ ไปจนวันที่พวกเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ พวกเขาก็จะรู้ถึงความผิดชอบชั่วดีจากตัวของเขาเอง เริ่มจากการปลูกฝังตั้งแต่วัยเด็กโดยมีคนบ้านเป็นผู้คอยสนับสนุน

  หวังว่าคุณคงจะถูกใจกับบทความ เมื่อ “ลูกพูดไม่เพราะ” คุณพ่อคุณแม่ควรมีวิธีการรับมืออย่างไร !  อันนี้ 

Taxx 27/1/64 แม่และเด็ก 

เครดิตภาพ : google.com , pixel.com 

Facebook
Twitter