เตือนภัย!! ผู้ปกครองต้องระวัง กับภาวะ MIS-C ในเด็ก ที่อันตรายถึงขั้นเสียชีวิต

ภาวะ MIS-C อย่างที่เราทราบข่าวกันในปัจจุบันว่าการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ยังคงคุกคามหนักอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีแนวโน้มว่าสามารถติดเชื้อได้ง่ายยิ่งขึ้น โดยจะป้องกันได้ยาก สามารถติดได้ตั้งแต่เด็กและเกิดไปจะถึงผู้สูงอายุ ซึ่งถือเป็นโรคที่ต้องเฝ้าระวังเป็นอย่างมากในปัจจุบัน โดยเฉพาะผู้ที่ภูมิคุ้มกันต่ำอยากได้เด็กเล็กและผู้สูงอายุจะไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคนี้ได้อย่างแน่นอน ซึ่งส่วนมากแล้วพบว่าผู้ที่ติดเชื้อ Covid-19 ส่วนใหญ่จะภูมิคุ้มกันตก ร่างกายอ่อนแอขึ้น long covid ที่แสดงหลังติดเชื้อ 2 ถึง 6 สัปดาห์ โดยเฉพาะเด็กเล็กจะต้องเฝ้าระวังภาวะ MIS-C  หรือการอักเสบทั้งร่างกาย ภาวะนี้จะรุนแรงอย่างไรบ้างและติดตามกันเลย

1. ทำความรู้จักกับภาวะ MIS-C

1. ทำความรู้จักกับภาวะ MIS-C

ลักษณะโดยทั่วไปของโรคนี้จะค่อนข้างคล้ายกับโรค Kawasaki ซึ่งอาจจะทำให้วินิจฉัยได้ยากมากยิ่งขึ้น ภาวะนี้มีชื่อเต็มว่า Multisystem Inflammatory Syndrome in Children หากอธิบายให้สามารถเข้าใจได้ง่ายมากยิ่งขึ้นก็คือ อาการอักเสบหลายระบบพร้อมกันในเด็กระดับความรุนแรงคือถ้าหากระบบใดระบบหนึ่งล้มเหลว จะทำให้ร่างกายเริ่มรวนจนถึงขั้นไม่ตอบสนองต่อการรักษา เป็นภาวะแทรกซ้อนที่ต้องเฝ้าระวังหลังจากเด็กติดเชื้อโควิด 

2. ลักษณะอาการของภาวะ MIS-C

2. ลักษณะอาการของภาวะ MIS-C

เนื่องจากเกิดจากการอักเสบของอวัยวะภายในร่างกายพร้อมๆกัน ที่พบส่วนมากมักพบว่าระบบหัวใจอักเสบ ปอด ตับ ไต ผิวหนัง ตา ระบบทางเดินหายใจ ที่แย่ไปกว่านั้นคือสมองอักเสบ ถ้าหากวินิจฉัยได้ช้าเด็กอาจจะมีอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้เลยทีเดียว ดังนั้นให้ผู้ปกครองสังเกตอาการของเด็กดังนี้ 

  • พบว่าเด็กมีไข้สูงตั้งแต่ 38 องศาขึ้นไป 
  • ลักษณะตาแดง เยื่อบุตาอักเสบ ปากแห้งแตก
  • มีผื่นขึ้นตามตัวโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • มีอาการหายใจหอบเหนื่อย อยู่ตลอดเวลา
  • ลำไส้อักเสบ มีอาการปวดท้อง หรือท้องเสีย ซึ่งมีลักษณะอาเจียนร่วมด้วย
  • เด็กมีอาการซึม หรือ มีอาการชัก
3. กลุ่มเป้าหมายที่ต้องระวังเป็นพิเศษ

3. กลุ่มเป้าหมายที่ต้องระวังเป็นพิเศษ

คือเด็กที่อายุประมาณ 6 ถึง 10 ขวบขึ้นไป ซึ่งอัตราการพบส่วนใหญ่มีโอกาสพบได้ทั้งเด็กผู้ชายและเด็กผู้หญิงเท่าๆกันเลย ทั้งนี้ เกิดขึ้นได้เนื่องจากภาวะภูมิคุ้มกันของร่างกายที่ไม่สามารถต่อต้านเชื้อโรคได้ หรือมีการตอบสนองต่อการติดเชื้อแบบผิดปกติ โดยอาการของโรคนี้จะแสดงหลังจากที่เด็กหายจากโรคโควิด-19 แล้วประมาณ 2 – 6 สัปดาห์

4. วิธีการรักษาภาวะ MIS-C

4. วิธีการรักษาภาวะ MIS-C

เป็นเรื่องน่าเสียใจเป็นอย่างยิ่งเลยที่โรครุนแรงระดับนี้ ยังไม่มีวิธีการรักษาที่เฉพาะเจาะจง ทำได้เพียงรักษาตามอาการและให้ยาต้านอักเสบในแต่ละระบบของร่างกายเท่านั้น โดยส่วนใหญ่แล้วจะรักษาด้วยวิธีการให้ Antibody ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในระบบภูมิคุ้มกันของคนเราที่ทำหน้าที่คอยเป็นปราการป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย หรือได้คุณหมอบางท่านอาจจะพิจารณาแล้วให้ทานยากดภูมิ เพื่อลดปัญหาการตอบสนองของภูมิคุ้มกันที่ผลิตแอนติบอดีมากเกินไปจนไปทำลายระบบต่างๆในร่างกายของตัวเอง

5. วิธีการป้องกันภาวะ MIS-C

5. วิธีการป้องกันภาวะ MIS-C

อย่างที่เราทราบกันดีอยู่แล้วว่าภาวะนี้มีอัตราการเกิดต่ำ แต่ระดับความรุนแรงกลับสูงมากกว่าการติดเชื้อโควิด-19 เสียอีก ถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะยังไม่มีวิธีการรักษาอย่างเฉพาะเจาะจงแต่คุณสามารถลดความรุนแรงภาวะนี้ได้ด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อโควิด-19 เป็นการป้องกันที่ต้นเหตุเลย ถึงแม้ว่าจะไม่สามารถป้องกันไม่ให้ติดเชื้อได้ แต่ก็สามารถลดระดับความรุนแรงของโรคนี้ได้ และลดการเกิดภาวะบิ๊กซีลงได้มาก 91-100% เลยทีเดียว ดังนั้นวัคซีนจึงมีความสำคัญและเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับผู้ที่ภูมิคุ้มกันต่ำ

เป็นอย่างไรกันบ้างสำหรับ ภาวะ MIS-C ที่เรานำมาฝากกันในวันนี้ จะเห็นได้ว่ามี ระดับความรุนแรงค่อนข้างสูง ถ้าหากวินิจฉัยได้ช้าลูกของคุณอาจตกอยู่ในอันตรายและถึงขั้นเสียชีวิตได้เลยทีเดียว ดังนั้นเพื่อลดโอกาสการสูญเสีย ถ้าหากลูกเคยติดเชื้อโควิด-19 มาก่อน ให้เฝ้าระวังการ อักเสบของอวัยวะทั่วร่างกาย  โดยเฝ้าสังเกตจากอาการดังกล่าวข้างต้น ถ้าหากอาการของลูกเข้าข่ายให้รีบแนะนำตัวพบแพทย์โดยทันทียิ่งวินิจฉัยได้เร็ว ยิ่งมีโอกาสรักษาได้สูง แต่ทางที่ดีเราควรป้องกันไม่ให้ลูกติดเชื้อไวรัส ตั้งแต่ต้นด้วยการรักษาความสะอาด และใส่หน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย จะช่วยให้คุณห่างไกลโรคนี้ได้มากยิ่งขึ้น สล็อตออนไลน์

Facebook
Twitter