อาหารที่คุณแม่หลังคลอดควรทาน ในระหว่างให้นมลูก

  หลังจากการคลอดลูกในระยะที่กำลังให้นมลูก คุณแม่ควรต้องใส่ใจกับเรื่องสุขภาพของตัวเองเช่นกันโดยการทานอาหารที่มีสารอาหารที่พอเพียง ไม่ใช่บำรุงเพียงในเฉพาะช่วงที่ตั้งครรภ์เท่านั้น เพราะคุณแม่ต้องใช้พลังงานอย่างมากในช่วงให้น้ำนมลูก อาหารที่คุณแม่รับประทานเข้าไปมีผลต่อน้ำนมไปสู่ลูกน้อยได้ ในช่วงเวลาหลังคลอดการกินของคุณแม่เป็นสิ่งที่สำคัญต่อร่างกายมาก คุณแม่ควรเพิ่มพลังงานให้กับร่างกายโดยทานอาหารที่ดีต่อร่างกาย วันนี้จึงมาแนะนำ เมนูอาหารที่คุณแม่หลังคลอดควรทานในระยะให้นมลูก พร้อมทั้งวิธีดูแลสุขภาพของคุณแม่หลังคลอด

  อาหารที่จะช่วยเพิ่มน้ำนมให้คุณแม่ ในกรณีที่หากคุณแม่มีความกังวลว่า จะมีนมน้อย ไม่เพียงพอสำหรับลูกน้อยนั้น คุณแม่ควรลองทาน พืช ผักใบเขียว ประเภทสมุนไพร อย่างเช่นใบแมงลัก ขิงใบกระเพา กระเทียม ดอกแค หรือผลไม้อย่างเช่น ฟักทอง มะละกอ เป็นต้น เพราะจะมีสรรพคุณจะช่วยกระตุ้นน้ำนม ให้มีปริมาณเพิ่มมากขึ้น เป็นเคล็ดลับที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ 

  การทานธัญพืชเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับคุณแม่ ในช่วงให้นมเป็นอย่างมาก เพราะเมล็ดธัญพืชต่างๆ เป็นแหล่งรวมโปรตีนชั้นดี รวมไปถึงแร่ธาตุที่สำคัญอีกมากมาย เช่น ธาตุเหล็กและวิตามิน การที่คุณแม่ได้ทานธัญพืชในขณะที่กำลังให้นมลูกนั้น ลูกจะได้รับสารอาหารไปด้วย คุณแม่อาจทานธัญพืชควบคู่ไปกับการทานอาหารอื่นๆ ได้ด้วยเช่นกัน

  อาหารที่เพิ่มมวลกระดูกเป็นสิ่งที่คุณแม่ควรทาน มากที่สุดเพราะมวลกระดูกของคุณแม่นั้นลดลงไปมาก ในระหว่างที่ตั้งครรภ์ ช่วงให้นมลูกร่างกายของคุณแม่ค่อนข้างใช้พลังงานหนัก ในช่วงนี้คุณแม่จึงควรรับประทานแคลเซี่ยม และวิตามินดีในปริมาณที่เพียงพอต่อร่างกาย เพราะเป็นส่วนสำคัญในการเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง และเป็นการเพิ่มมวลกระดูกได้อีกด้วย อาหารที่ควรรับประทานนั้น คืออาหารจำพวก นม ถั่ว แป้งสาลี และปลาเล็กปลาน้อย เพราะอาหารเหล่านี้จะอุดมไปด้วยแคลเซี่ยม ส่วนอาหารที่มีวิตามินดี ได้แก่ เห็ดหูหนู และเห็ดหอม ในส่วนของผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมก็เป็นสิ่งที่คุณแม่ควรทานให้มากๆ 

   การทานผลไม้ตามฤดูกาลก็สำคัญต่อร่างกายคุณแม่ นับเป็นประโยชน์สำหรับคุณแม่หลังคลอดอย่างยิ่ง เพราะผลไม้เป็นแหล่งรวมสารอาหารที่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูนอิสระ วิตามินซี และเกลือแร่ ซึ่งวิตามินซีจะช่วยในการสมานแผลได้ ดังนั้นคุณแม่จึงควรทานผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว อย่างเช่น ส้ม หรือผัก อย่างเช่น มะเขือเทศ ก็จะเพิ่มวิตามินซีได้ดี การทานผลไม้ เช่น แอปเปิ้ล กล้วย ก็สามารถช่วยเพิ่มระดับพลังงานในร่างกายได้ดี 

  สิ่งที่คุณแม่ไม่ควรทำในระหว่างที่ให้นมลูก อยู่คือการดื่มแอลกอฮอล์ เพราะอย่างที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า การดื่มแอลกอฮอล์ในระหว่างตั้งครรภ์ จะทำให้ลูกมีโอกาสพิการตั้งแต่กำเนิด และเกิดความผิดปกติทางสติปัญญาได้ รวมไปถึงการมีพัฒนาการช้ากว่าปกติ การดื่มแอลกอฮอล์หลังจากคลอดลูกจะมีปริมาณมากถึง 2% ซึ่งสามารถส่งผ่านไปทางน้ำนมแม่ถึงลูกน้อยได้ 

  ทารกนั้นยังไม่มีความสามารถในการขับแอลกอฮอล์ ออกจากร่างกายได้มากนัก แม้ค่าของแอลกอฮอล์ที่คุณแม่อาจดื่มเพียงเล็กน้อยนั้น ก็สามารถส่งผลต่อร่างกายของลูกน้อยได้ และได้รับมากกว่าผู้ใหญ่หลายเท่า 

  นอกจากนี้การสูบบุหรี่ในขณะให้นมลูก ยังทำให้การผลิตนมลดลงปริมาณลงไปอีก ทั้งยังเป็นผลต่อการเจริญเติบโตของลูกน้อยด้วย คุณสูบบุหรี่จะผลิตน้ำนมน้อยกว่าคุณแม่ที่ไม่สูบและการสูบบุหรี่มีผลต่อพัฒนาการลูกด้วยเช่นกัน เพราะสารนิโคตินในบุหรี่นั้นมีผลกระทบโดยตรงต่อลูกน้อย ส่งผลให้ชีพจรของลูกเต้นเร็วผิดปกติ ทำให้อาเจียน และทำให้ลูกไม่อยู่นิ่ง 

   ดังนั้นในระยะนี้คุณแม่ต้องอดทน เพื่อสุขภาพที่ดีของลูกน้อยและการเจริญเติบโตของลูกน้อยที่สมบูรณ์ ถือเป็นโอกาสทองสำหรับการเลิกดื่ม และเลิกสูบบุหรี่ของคุณแม่ด้วยเช่นกัน

  คาเฟอีนเป็นสิ่งที่คุณแม่ควรหลีกเลี่ยง หรือหากเลิกได้คุณแม่ก็ควรเลิกเป็นอย่างยิ่ง เพราะคาเฟอีนในชาหรือกาแฟนั้น จะส่งผลผ่านจากน้ำนมมาถึงลูกได้ ซึ่งทารกอาจจะได้รับคาเฟอีน จนไปกระตุ้นสมอง ทำให้เด็กตื่น และกระวนกระวายไม่ยอมนอน มีผลกระทบต่อกระเพาะ และลำไส้ได้ 

  สำหรับคุณแม่ที่ติดกาแฟ อาจต้องมีการเปลี่ยนพฤติกรรมในการกินกาแฟ ให้มีลักษณะที่ค่อยเป็นค่อยไป เปลี่ยนจากเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนมาเป็นเครื่องดื่มที่ไม่มีคาเฟอีนแทน อาจดื่มน้ำสมุนไพรที่ช่วยบำรุงน้ำนมก็ได้ คุณแม่ควรจำกัดการบริโภคผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของคาเฟอีนให้มากที่สุด หรืออย่างมาก ก็ควรดื่มกาแฟเพียงหนึ่งถ้วยต่อวันเท่านั้น เพื่อประโยชน์ต่อตัวคุณเองและลูกน้อย 

หวังว่าคุณคงถูกใจกับบทความ อาหารที่คุณแม่หลังคลอดควรทาน “ ในระหว่างให้นมลูก ” ! อันนี้ 

Taxx 22/1/64 แม่และเด็ก 

เครดิตภาพ  : google.com 

https://www.parentsone.com/the-best-foods-to-eat-when-breastfeeding/

babyplaypark.com

เกมส์ออนไลน์แนะนำ >>> สล็อตแตกง่าย

Facebook
Twitter