ห้ามพลาด เช็คด่วน โรคสมาธิสั้นเทียมมีอาการอย่างไร ลูกมีโอกาสเสี่ยงหรือไม่ มาดูกัน

โรคสมาธิสั้นเทียม อย่างที่เราทราบกันดีอยู่แล้วว่าในยุคสมัยปัจจุบันนี้ เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเรามากยิ่งขึ้น จึงยากที่จะหลีกเลี่ยงให้เด็กไม่ดูจอ ซึ่งผลกระทบของการดูจอนั้นมีมากมายมหาศาล สิ่งที่จะสังเกตได้อย่างชัดเจนคือลูกจะเป็นโรคสมาธิสั้น โดยปกติแล้วเด็กไม่ควรดูจอในช่วงอายุ ต่ำกว่า 2 ปี  เพราะหน้าจอทางโทรศัพท์มือถือหรือโทรทัศน์ภาพที่เปลี่ยนไปไว้แล้วมีผลต่อสมองของลูก ซึ่งเด็กไม่สามารถแยกแยะสถานการณ์ได้ ส่งผลให้ลูกเป็นโรคสมาธิสั้นที่อย่างรวดเร็ว เพื่อให้ตระหนักถึงโทษของการดูหน้าจอวันนี้เราจึงมีผลกระทบของโรคสมาธิสั้นเทียมมาฝากกัน วิธีสังเกต และป้องกันอย่างไรได้บ้างนั้นไปติดตามกันเลย

1. ทำความรู้จักกับโรคสมาธิสั้นเทียม

1. ทำความรู้จักกับโรคสมาธิสั้นเทียม

หรือไฮเปอร์เทียม ลักษณะโดยทั่วไปคือจะเป็นอาการสมาธิสั้นที่ประกอบไปด้วย hyperactive เด็กจะมีอาการสั่นไม่หยุดนิ่ง inattention ไม่มีสมาธิในการจดจ่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่เป็นเวลานาน และ impulsivity ไม่มีการไตร่ตรองให้รอบคอบซึ่งโรคสมาธิสั้นเทียมนั้นจะมีอาการคล้ายๆกับโรคสมาธิสั้นเลย สังเกตได้จากกรรมพันธุ์ของพ่อแม่ที่อาจส่งมาให้ลูกถ้าหากบ้านใดที่มีประวัติเด็กเคยเป็นสมาธิสั้นให้ระวังบุตรหลานไว้ให้ดูอาจได้รับการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น

2. สาเหตุที่ทำให้เกิดสมาธิสั้นเทียม

2. สาเหตุที่ทำให้เกิดสมาธิสั้นเทียม

ไม่ได้มีจุดเริ่มต้นมาจากกรรมพันธุ์ นอกจากนี้ยังไม่ได้มีสาเหตุมาจากภาวะแทรกซ้อนของโรคสมองแต่อย่างใด แต่เกิดขึ้นจากการใช้ชีวิตประจำวันของเด็ก โดยเฉพาะพ่อแม่ที่ต้องทำงานประจำและไม่มีเวลาให้กับลูก ใช้วิธีแก้ปัญหาโดยการให้ลูกอยู่กับหน้าจอเป็นเวลานาน เพื่อแลกกับการให้ลูกอยู่นิ่งไม่ซน การให้ลูกดูแต่หน้าจอนั้นจะทำให้เด็กได้รับสารทางเดียวไม่เกิดการเรียนรู้ อีกทั้งยังทำให้เขา ชินกับความรวดเร็วของอินเทอร์เน็ตจนทำให้เขารอไม่เป็น กลายเป็นความรู้สึกเอาแต่ใจ และส่งผลกระทบระยะยาว

3. อาการของเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นเทียม

3. อาการของเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นเทียม

สำหรับคุณพ่อคุณแม่ท่านใดที่ให้ลูกดูหน้าจอเป็นเวลานานสามารถสังเกตพฤติกรรมของลูกได้ ว่าลูกจะเป็นเด็กที่กระวนกระวายไม่มีสมาธิ ไม่สามารถรอได้ มีอารมณ์ฉุนเฉียวและอารมณ์ร้อน รวมไปถึงมีนิสัยค่อนข้างเอาแต่ใจถ้าหากไม่ได้อะไรดั่งใจจะโวยวายและงอแงในทันที สิ่งที่บ่งบอกถึงการเป็นโรคสมาธิสั้นเทียมส่งผลให้เด็กไม่มีสมาธิในการเรียนรู้ ทั้งขาดทักษะทางด้านอื่นๆไปอย่างน่าเสียดาย

4. วิธีรักษาโรคสมาธิสั้นเทียม

4. วิธีรักษาโรคสมาธิสั้นเทียม

ถ้าหากสำรวจแล้วพบว่าลูกมีอาการเข้าข่ายโรคสมาธิสั้นเทียมก็ไม่ต้องเป็นกังวลใจไปอันดับแรกให้คุณพ่อคุณแม่เข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นและยอมรับพร้อมทั้งเปลี่ยนแปลงลักษณะการดำเนินชีวิตประจำวัน ถ้าหากคุณเข้าใจเขาจะทำให้ทุกอย่างดีขึ้นได้อย่างรวดเร็ว 

  • โดยเริ่มจากการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุให้ลูกงดดูหน้าจอโทรศัพท์มือถือหรือคอมพิวเตอร์เลย แต่ในปัจจุบันค่อนข้างทำยากการใช้อินเทอร์เน็ตนั้นถือว่าเป็นดาบสองคมถ้าหากใช้ถูกวิธีก็จะช่วยให้ลูกได้เรียนรู้สิ่งต่างๆรอบตัวได้มากยิ่งขึ้นแต่ถ้าหากใช้เกินเวลา ก็จะส่งผลกระทบต่อสมาธิของลูกดังนั้นแนะนำว่าให้คุณพ่อคุณแม่แบ่งเวลาการใช้หน้าจออย่างชัดเจน เช่นดูได้วันละไม่เกินครึ่งชั่วโมง 
  • ฝึกระเบียบวินัยให้ลูกรู้จักการรอคอยมากยิ่งขึ้น  โดยเวลาที่ลูกร้องขออะไรไม่ให้หาให้ในทันที ฝึกความอดทน เช่น ฝึกความอดทนรอคอยเพื่อจะได้ของเล่น หรือได้ทานอาหารที่ชอบ
  • สภาวะแวดล้อมที่โรงเรียนก็สำคัญ แนะนำให้คุณครูจัดที่นั่งกลางห้อง ไม่ติดหน้าต่างหรือประตู เพื่อไม่ให้สมาธิวอกแวกรบกวนการเรียนรู้นั่นเอง
5. กิจกรรมที่ช่วยบำบัดโรคสมาธิสั้นเทียม

5. กิจกรรมที่ช่วยบำบัดโรคสมาธิสั้นเทียม

ให้หากิจกรรมทำร่วมกันกับลูกให้มากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการพาออกไปวิ่งเล่นในสวนสาธารณะ พาไปพบปะสังสรรค์กับเด็กรุ่นเดียวกัน จะทำให้เขาเรียนรู้และเห็นสิ่งต่างๆรอบตัวได้มากยิ่งขึ้น ลดการสื่อสารทางเดียว ช่วยให้เข้ากับสังคมได้ดีขึ้น ออกกำลังกายเบาๆสม่ำเสมอ จะช่วยให้ร่างกายสดชื่น กระปี้กระเปร่า ช่วยให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนที่ดีออกมามากขึ้น นอกจากนี้การเล่นของเล่นเสริมพัฒนาการก็สามารถช่วยบำบัดโรคสมาธิสั้นเทียมได้ด้วยเช่นกัน

เป็นอย่างไรบ้างสำหรับ โรคสมาธิสั้นเทียม ที่เรานำมาฝากกันในวันนี้ จะเห็นได้ว่าเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่สร้างความกังวลใจให้กับพ่อแม่ได้ไม่น้อยเลยทีเดียว เป็นปัญหาที่ค่อนข้างหลีกเลี่ยงได้ยากเพราะในชีวิตประจำวันของเรานั้นมีเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้องทุกวัน ดังนั้นจำเป็นอย่างมากที่คุณพ่อคุณแม่จะต้องฝึกฝนความอดทนสร้างวินัยให้ลูกใช้หน้าจอด้วยความจำเป็น ใช้เพื่อการเรียนรู้ให้เกิดประโยชน์ ในระยะเวลาที่เหมาะสมเท่านั้น ก็จะช่วยลดโอกาสการเป็นโรคสมาธิสั้นเทียมลงได้มากเลยทีเดียวสำหรับใครที่กำลังประสบกับปัญหานี้อยู่นั้นลองนำเคล็ดลับวิธีการแก้ปัญหาที่เรานำมาฝากในวันนี้ไปปรับใช้ดูรับรองว่าลูกคุณจะมีอาการดีขึ้นอย่างแน่นอน

Facebook
Twitter