มาทำความรู้จักกับ โรคกลัวสังคมในเด็ก ที่ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมการพัฒนาการของลูก

โรคกลัวสังคมในเด็ก ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าพ่อแม่ยุคใหม่มักมีความคาดหวังในความสามารถของลูก อยากให้ลูกเป็นเด็กกล้าแสดงออก มีความมั่นใจในตัวเองสูง พฤติกรรมเหล่านี้จะมีประโยชน์ช่วยให้ลูกมีพัฒนาการที่ดีอย่างก้าวกระโดด แต่จากการสำรวจพบว่า มีเด็กไม่น้อยเลยที่มีปัญหาไม่มั่นใจในตัวเอง บางคนหนักถึงขั้นเป็นโรคกลัวสังคมเลยก็มี ซึ่งจะส่งผลต่อพัฒนาการโดยตรง  ดังนั้นเพื่อให้คุณพ่อคุณแม่ได้ตระหนักถึงความสำคัญของโรคนี้ วันนี้เราจึงมีข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับโรคกลัวสังคมในเด็กมาฝากกันจะมีผลกระทบต่อพฤติกรรมและพัฒนาการของโลกอย่างไรบ้างนั้นไปติดตามกันเลย

1. ลักษณะทั่วไปของโรคกลัวสังคมในเด็ก

1. ลักษณะทั่วไปของโรคกลัวสังคมในเด็ก

เป็นโรคที่สามารถพบได้ในเด็กทั่วไปแล้วจะพบมากในช่วงวัยรุ่น โดยเฉพาะเด็กที่จะต้องอยู่ในสถานการณ์ที่มีผู้คนจับจ้องมาที่ตนเอง มีอาการตื่นกลัวแล้วจะไม่สามารถเก็บอาการของตนเองได้อยู่ เช่น การออกไปพูดหน้าชั้นเรียน การนำเสนอผลงาน

2. สาเหตุของโรคกลัวสังคมในเด็ก

2. สาเหตุของโรคกลัวสังคมในเด็ก

นั้นเกิดจาก เด็กกลัวการถูกวิพากษ์วิจารณ์หรือเคยมีประสบการณ์ในการถูกตำหนิ ถูกดุด่าว่ากล่าวมาก่อน ทำให้เด็กรู้สึกกลัวที่จะถูกปฏิเสธ จึงเก็บตัวเงียบกลายเป็นคนกลัวสังคม ไม่ชอบเข้าหาใคร ไม่ชอบพูดคุยกับคนที่ไม่คุ้นเคย ไม่กล้าที่จะแสดงผลงานหน้าชั้นเรียน อาการที่รุนแรงมากกว่านั้นคือไม่กล้าที่จะรับประทานอาหารในที่สาธารณะ

3. ความแตกต่างระหว่างเด็กขี้อายกับเป็นโรคกลัวสังคม

3. ความแตกต่างระหว่างเด็กขี้อายกับเป็นโรคกลัวสังคม

สำหรับเด็กที่มีอาการขี้อายไม่กล้าแสดงออกนั้น ถือว่าเป็นเรื่องปกติของเด็กทั่วไปโดยจะมีอาการประหม่าหรือรู้สึกตื่นเต้นอึดอัดใจเมื่อต้องออกไปพูดหน้าชั้นเรียน หรืออยู่ในสถานการณ์ที่ไม่คุ้นเคยแต่จะไม่ตลอดเวลาเหมือนกับเด็กที่เป็นโรคกลัวสังคม ที่จะมีลักษณะอาการติดต่อกันยาวนานมากกว่า 6 เดือนขึ้นไป โรคกลัวสังคมพบได้ตั้งแต่ในช่วงวัยเด็กถ้าหากไม่รักษาอย่างถูกวิธีจะส่งผลกระทบต่อในช่วงวัยรุ่น 

4. พฤติกรรมของเด็กที่เป็นโรคกลัวสังคม

4. พฤติกรรมของเด็กที่เป็นโรคกลัวสังคม

ที่คุณพ่อคุณแม่สามารถเฝ้าสังเกตอาการได้คือเมื่อต้องพบเจอกับคนแปลกหน้าหรืออยู่ในพื้นที่สาธารณะมักจะมีอาการ มือสั่น เสียงสั่น เหงื่อออกมากเป็นพิเศษ มีความตื่นเต้นและเกิดความกังวลในจิตใจ ก้มหน้าก้มตาอยู่ตลอดเวลาตัวสั่นหรือบางคนอาจร้องไห้ออกมาเลยก็ได้ นอกจากนี้เด็กยังมีอาการชอบเก็บตัวเงียบอยู่คนเดียว ไม่ลุกไปพูดคุยกับใคร แยกตัวออกจากกลุ่มเพื่อนและปฏิเสธการไปโรงเรียน ในกรณีที่มีอาการเป็นโรคกลัวสังคมอย่างรุนแรงเด็กจะมีอาการปวดหัว ปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียน

5. ผลกระทบต่อพฤติกรรมของโรคกลัวสังคม

5. ผลกระทบต่อพฤติกรรมของโรคกลัวสังคม

แน่นอนว่าจะทำให้เด็กขาดทักษะการเข้าสังคมไม่สามารถที่จะปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ ส่งผลให้มีพัฒนาการทางด้านที่ถดถอยลง ไม่กล้าที่จะแสดงออก ทำให้พัฒนาการของลูกนั้นไม่สมบูรณ์ตามช่วงวัย

6. วิธีแก้ไขโรคกลัวสังคมในเด็ก

6. วิธีแก้ไขโรคกลัวสังคมในเด็ก

คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยเหลือลูกได้ด้วยการชวนเขาทำกิจกรรมให้บ่อยขึ้น ซึ่งช่วงเวลาเหล่านี้คุณควรให้เวลาลูกได้ปรับตัว โดยเริ่มจากการทำกิจกรรมด้วยตนเอง เช่น การสั่งอาหารด้วยตัวเอง การซื้อของเล่นด้วยตัวเองจะทำให้ลูกมีความมั่นใจมากยิ่งขึ้น และถ้าหากลูกทำได้อย่าลืมที่จะกล่าวคำชมเชย จะทำให้เขามีกำลังใจและมีความกล้ามากยิ่งขึ้น

7. ส่งเสริมให้ลูกเข้าสังคมเมื่อมีโอกาส

7. ส่งเสริมให้ลูกเข้าสังคมเมื่อมีโอกาส

คุณพ่อคุณแม่ทราบหรือไม่ว่าการเลี้ยงลูกให้อยู่ในพื้นที่ที่มีสิ่งแวดล้อมเดิมๆจะทำให้เขากลัวที่จะออกไปเผชิญกับโลกใบใหม่ ไม่กล้าที่จะพบเจอผู้คนมากมายซึ่งถือเป็นการทำร้ายเขาทางอ้อม ถ้าหากมีโอกาสให้คุณพ่อคุณแม่พาลูกเข้าสังคมบ้างเช่นพาไปเดินช็อปปิ้งที่ห้างสรรพสินค้า พาไปที่สนามเด็กเล่น พาไปเดินเล่นสวนสาธารณะทำให้เขาพบเจอกับผู้คนที่แปลกตามากขึ้นจะช่วยให้ลูกมีความกล้าและลดความวิตกกังวลของลูกลงได้มากเลยทีเดียว 

เป็นอย่างไรกันบ้างสำหรับ โรคกลัวสังคมในเด็ก ที่เรานำมาฝากกันในวันนี้จะเห็นได้ว่าเป็นอีกหนึ่งโลกที่มีผลกระทบต่อพัฒนาการของลูกโดยตรง ซึ่งโรคกลัวสังคมในเด็กกับอาการเป็นเด็กขี้อายนั้นค่อนข้างที่จะคล้ายกัน ดังนั้นจำเป็นอย่างมากที่พ่อแม่จะต้องเฝ้าสังเกตอาการและพฤติกรรมของลูกอย่างใกล้ชิด ถ้าหากพบว่าลูกเป็นโรคกลัวสังคมก็จะได้หาวิธีการป้องกันและแก้ไขได้อย่างทันท่วงที ซึ่งเคล็ดลับที่เรานำมาฝากกันในวันนี้นั้นสามารถนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมในชีวิตประจำวันของแต่ละบ้านกันได้เลย ถ้าหากมีคนที่เข้าใจเขาอยู่ข้างๆ รับรองว่าลูกจะมีแรงผลักดันและมีความกล้ามากยิ่งขึ้นอย่างแน่นอน บาคาร่าออนไลน์

Facebook
Twitter