มาทำความรู้จักกับ ฮิคิโคโมริ ซินโดรม  อีกหนึ่งภัยเงียบ ที่อาจเกิดขึ้นกับลูกของคุณ

ฮิคิโคโมริ ซินโดรม อีกหนึ่งปัญหาที่หลายคนเป็นกังวลใจ เมื่อลูกถึงวัยที่จะต้องเข้าโรงเรียน แทบทุกคนต้องรับมือกับพฤติกรรมของลูกที่ไม่อยากไปโรงเรียน ไม่พบเจอผู้คนแปลกหน้า ซึ่งเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ แต่ถ้าหาก เด็กคนไหนที่เอาแต่เก็บตัวเงียบอยู่ในห้องใช้เวลาส่วนตัวอยู่กับเกม อินเทอร์เน็ต โทรศัพท์มือถือ เป็นระยะเวลานานจนผิดปกติ หลีกหนีสังคมไม่พบเจอผู้คน แม้จะอยู่บ้านเดียวกันก็ถือเป็นเรื่องผิดปกติ เด็กอาจเข้าข่ายมีภาวะเป็นโรค ฮิคิโคโมริ ซินโดรม ได้ วันนี้เราจึงรวบรวม สาเหตุและวิธีป้องกันการเกิดโรค ฮิคิโคโมริ ซินโดรม มาฝากกันจะเป็นอย่างไรบ้างนั้นไปติดตามกันเลย

1. ทำความรู้จักกับ ฮิคิโคโมริ ซินโดรม

1. ทำความรู้จักกับ ฮิคิโคโมริ ซินโดรม

หรือที่รู้จักกันดีในชื่อของ ฮิกกี้ โดยชาวญี่ปุ่นชอบใช้คำนี้แทนคนที่ชอบติดตัวออกจากสังคม ไม่ยอมพูดคุยกับใคร เอาแต่เก็บตัวเงียบหมกมุ่นอยู่กับตัวเองทั้งวัน ขาดปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง โดยถือเป็นอาการผิดปกติทางจิตวิทยา ถ้าหากเกิดขึ้นกับเด็กจะมีผลกระทบต่อพัฒนาการอย่างมาก

2. อาการของโรค ฮิคิโคโมริ ซินโดรม

2. อาการของโรค ฮิคิโคโมริ ซินโดรม

ที่หลายคนเป็นกังวลว่าแล้วลักษณะอาการที่ลูกของตัวเองเป็นนั้นใช่โรคนี้หรือไม่ โดยอาการของโรคนี้จะแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ ลูกจะหลีกหนีสังคม อยู่ร่วมกับผู้อื่นในสภาวะที่ถูกกดดันไม่ได้ ทำตัวไม่ถูก หรือ มีความชื่นชอบกับสิ่งหนึ่งสิ่งใดเป็นพิเศษจนตัดขาดตัวเองจากผู้คนรอบข้าง หมกมุ่นอยู่กับสิ่งที่ตัวเองชอบไม่ว่าจะเป็นเกม การ์ตูน โทรศัพท์มือถือ ฯลฯ ก็ถือว่าอาการเข้าข่าย โรคฮิคิโคโมริ ซินโดรม เช่นกัน

3. สาเหตุที่ทำให้เกิดโรค

3. สาเหตุที่ทำให้เกิดโรค

ส่วนใหญ่การที่เด็กชอบเก็บตัวเงียบ มาจากหลายสาเหตุที่เกิดขึ้นได้ไม่ว่าจะเป็น การผิดหวังจากการเจอเรื่องสะเทือนใจ โดนกระทำจากสังคมภายนอก ทำให้รู้สึกว่าอยู่กับตัวเองแล้วมีความสุขดีกว่า สิ่งแวดล้อมก็มีส่วนอย่างมาก อาจเจอแรงกดดันในเรื่องของการเรียน ความเครียดสะสมจนเกิดความเบื่อหน่ายสังคมรอบข้าง จนทำให้ชอบหลบหลีกสังคม นอกจากนี้ความแตกต่างหรือโดดเด่นกว่าคนอื่นก็ส่งผลให้เป็นโรค ฮิคิโคโมริ ซินโดรม  ได้ด้วยเช่นกัน เพราะเด็กจะรู้สึกขาดความมั่นใจในตนเอง รู้สึกแย่จึงแยกตัวออกจากสังคมเพื่อเด็กมีปัญหา

4. ผลกระทบที่ส่งผลกับลูกน้อย

4. ผลกระทบที่ส่งผลกับลูกน้อย

ซึ่งโรคนี้จะส่งผลกระทบร้ายแรงต่อพัฒนาการของเด็กเป็นอย่างมาก โดยเด็กที่เป็นโรค ฮิคิโคโมริ ซินโดรม จะเป็นเด็กที่ขาดความมั่นใจในตนเอง ไม่กล้าคิดกล้าทำ กลัวการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น ขาดการเรียนรู้และไม่สามารถปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ ทั้งทำให้เด็กมีปัญหาในเรื่องของบุคลิกภาพ จะดูเป็นเด็กที่ไม่ร่าเริง ขาดความสง่า ชอบกักขังตัวเองไว้ในห้องตลอดเวลา

5. วิธีสังเกตุลูก

5. วิธีสังเกตุลูก

สำหรับคุณพ่อคุณแม่ท่านไหนที่กำลังเป็นกังวลใจไปว่าลูกมีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้หรือไม่ ให้สังเกตพฤติกรรมดังต่อไปนี้ ถ้าหากลูกไม่ยอมออกจากบ้านเป็นระยะเวลานานเกินกว่า 6 เดือน  ชอบหมกมุ่นอยู่กับตนเองหรือสิ่งที่ตัวเองชอบ ขาดปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ไม่อยากพบเจอใคร มีโลกส่วนตัวสูงถึงขั้นพ่อแม่เข้าไปยุ่งย่ามไม่ได้ ชอบทำแต่สิ่งที่ตนเองสนใจ เช่นอ่านหนังสือการ์ตูน หรือ เล่นเกมอยู่ได้เป็นเวลาทั้งวัน  ที่แย่ไปกว่านั้นบางครั้งจะมีพฤติกรรมที่ก้าวร้าวและรุนแรงถือว่ามีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรค ฮิคิโคโมริ ซินโดรม สูงมาก

6. วิธีป้องกันและลดความเสี่ยงในการเกิดโรค

6. วิธีป้องกันและลดความเสี่ยงในการเกิดโรค

อันดับแรกเลยต้องเริ่มที่พ่อแม่ไม่คาดหวังในตัวลูกมากจนเกินไป ไม่บีบบังคับจนลูกรู้สึกกดดันตัวเอง ถ้าหากทำไม่ได้ดั่งเป้าหมายที่ตั้งไว้จะรู้สึกผิดหวัง ให้คุณพ่อคุณแม่พยายามส่งพลังบวกให้กับลูกมากๆพูดให้ลูกรู้สึกสบายใจ ที่สำคัญคุณจะต้องแสดงความรักผ่านทางการกระทำและคำพูดให้ลูกได้เห็น เช่น การกอดลูกบ่อยๆ หอมแก้ม เมื่อลูกทำดีให้พูดชมเชยเขาจะรู้สึกมีกำลังใจและมีคนอยู่คอยเคียงข้าง นอกจากนี้เมื่อลูกเกิดปัญหาใด ให้คุณรับฟังมากกว่าการตั้งคำถาม จะทำให้เขารู้สึกไม่โดดเดี่ยว รวมถึงการหากิจกรรมทำร่วมกัน เพื่อกระชับความสัมพันธ์ จะช่วยดึงลูกออกจาก โรค ฮิคิโคโมริ ซินโดรม นี้ได้อย่างแน่นอน

เป็นอย่างไรกันบ้างสำหรับ ฮิคิโคโมริ ซินโดรม ที่เรานำมาฝากกันในวันนี้ถือว่าเป็นอีกหนึ่งภัยเงียบที่มาโดยไม่ทันตั้งตัว ส่วนใหญ่แล้วมักเกิดจากการคาดหวังของผู้ใหญ่ให้ลูกอยู่ในโอวาทมีพฤติกรรมที่น่ารักและต้องฉลาดเรียนรู้ไว จนบางครั้งอาจทำให้ลูกรู้สึกกดดัน แล้วตัดปัญหาพาตัวเองออกจากสังคมซึ่งจะกระทบต่อพัฒนาการของลูกในทุกๆด้าน สำหรับพ่อแม่ท่านไหนที่กำลังเผชิญกับปัญหาเหล่านี้อยู่นั้นลองนำเคล็ดลับและวิธีแก้ดังกล่าวข้างต้นที่เรานำมาฝากกันในวันนี้ไปปรับประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับลูกดูรับรองว่าคุณสามารถป้องกันและช่วยลูกให้หายจากโรค ฮิคิโคโมริ ซินโดรม นี้ได้อย่างแน่นอน

Facebook
Twitter