คุณแม่ระวัง!! Brain Fog ภาวะสมองล้า ภัยเงียบที่ไม่ควรมองข้าม

ภาวะสมองล้า เมื่ออายุมากขึ้น ผสมผสานกับการทำงานหนัก มีเรื่องให้ต้องรับผิดชอบมากมาย สุขภาพร่างกายก็เสื่อมถอยลงทุกวัน โดยเฉพาะ คุณแม่ที่ต้องทำงานไปด้วย เลี้ยงลูกด้วย ร่างกายอาจมีภาวะเครียดสะสม พักผ่อนน้อย จนอาจทำให้เกิดภาวะสมองล้า ซึ่งแน่นอนว่า จะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันอย่างแน่นอน  ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลงอย่างเห็นได้ชัด อีกทั้งยังเสี่ยงต่อการเป็นโรคสมองเสื่อมก่อนวัยได้อีกด้วย ดังนั้นเพื่อให้คุณแม่ตระหนักถึงภัยเงียบนี้กันมากยิ่งขึ้น เราจึงมีสาเหตุ และวิธีการป้องกัน ภาวะสมองล้า นี้มาฝากกัน หากใครที่สนใจ สามารถติดตามรายละเอียดกันได้เลย

1. มาทำความรู้จักกับภาวะสมองล้า (Brain Fog Syndrome)

1. มาทำความรู้จักกับภาวะสมองล้า (Brain Fog Syndrome)

เป็นภาวะที่เกิดจากความเครียดสะสมและสมองถูกใช้งานอย่างหนักเป็นระยะเวลานาน ซึ่งอาจจะเกิดจากพฤติกรรมการทำงานในชีวิตประจำวัน ที่จะต้องใช้ความเร่งรีบส่งงานให้ตรงตามกำหนด มีภาระหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบมากมายทำให้สมองต้องคิดอยู่ตลอดเวลา หรือสำหรับสาวออฟฟิศที่ต้องนั่งอยู่หน้าจอคอมตลอดทั้งวัน จนทำให้สารสื่อประสาทในสมองที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อกับข้อมูลสัญญาณไฟฟ้าระหว่างเซลล์ของระบบประสาทเกิดความเสียสมดุล จนทำให้สมองนั้นทำงานได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ หรือแย่ลงอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งถือเป็นภัยเงียบที่อาจจะเป็นสาเหตุให้เกิดโรคอื่นตามมาได้ง่ายมากขึ้น 

2. สมองล้าเกิดจากสาเหตุใด

2. สมองล้าเกิดจากสาเหตุใด

เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนยุคใหม่ ที่ไม่ได้เคลียร์สมองให้โล่งก่อนนอน ทำให้เกิดเป็นความเครียดสะสม ส่งผลกระทบให้การไหลเวียนเลือดในสมองลดลง เกิดอาการมึนงงความจำแย่ลง หรือบางคนอาจจะขาดการออกกำลังกาย ไม่ดูแลด้านโภชนาการให้เหมาะสม และที่สำคัญสำหรับใครที่ใช้คอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือ เป็นเวลานานจะทำให้เกิดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เข้าไปรบกวนการหลั่งสารสื่อประสาทในสมอง จนทำให้เกิดเป็นภาวะสมองล้าขึ้นได้นั่นเอง 

3. ลักษณะอาการที่จะบ่งบอกว่าคุณมีภาวะสมองล้า

3. ลักษณะอาการที่จะบ่งบอกว่าคุณมีภาวะสมองล้า

คุณแม่จะรู้สึกไม่ค่อยสดชื่น นอนหลับไม่สนิท รู้สึกว่าหมดไฟหมดพลังงานในการทำงาน ไม่สามารถที่จะกำจัดความเครียดจากการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพจนทำให้เป็นภัยคุกคามในชีวิตและส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อ สภาวะทางอารมณ์ทำให้หงุดหงิดง่าย อารมณ์แปรปรวนไม่มีความสมดุล นอกจากนี้คุณแม่จะรู้สึกว่าความจำสั้น ขี้หลงขี้ลืมมากขึ้น ไม่มีความคิดสร้างสรรค์เลยส่งผลกระทบให้คุณภาพชีวิตย่ำแย่ลง เป็นต้น

4. เคล็ดลับป้องกันภาวะสมองล้า

4. เคล็ดลับป้องกันภาวะสมองล้า

สำหรับคุณแม่ที่รู้สึกว่าเริ่มมีการเข้าข่ายสมองล้าแล้วไม่ต้องเป็นกังวลใจไป เนื่องจากคุณสามารถที่จะปรับพฤติกรรมในชีวิตประจำวันได้ หลักๆเลยคือให้หันมาออกกำลังกายมากขึ้น ร่างกายจะรู้สึกสดชื่น สุขภาพร่างกายแข็งแรง ปรับความคิด มองโลกในแง่บวก ไม่เครียดหรือไม่คิดมากกับเรื่องง่ายๆ นอนหลับให้สนิทอย่างน้อย 7-8 ชั่วโมง แนะนำให้ไม่เกินเที่ยงคืนจะดีที่สุด ถ้าตัวเองออกไปเจอสถานการณ์ใหม่ๆ เพื่อให้รู้สึกผ่อนคลายได้สูดอากาศบริสุทธิ์อย่างเต็มที่จะช่วยให้เคลียร์ความเครียดในสมอง ลดระดับให้น้อยลงได้ รวมถึงดูแลด้านโภชนาการทางอาหารให้ดี ทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสมองก็จะช่วยลดภาวะสมองล้าลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

5. วิธีบำรุงสมองให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

5. วิธีบำรุงสมองให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

สารอาหารนั้นมีความสำคัญและจำเป็นอย่างมาก เช่น น้ำมันตับปลา วิธีประกอบไปด้วย DHA และกรดไขมันโอเมก้า 3 ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อสมอง ทานได้จากปลาชนิดต่างๆ เช่น ปลาแซลมอน ปลาทูน่า สารสกัดจากแปะก๊วย ช่วยกระตุ้นให้ระบบไหลเวียนเลือดในสมองทำงานได้ดีขึ้น เพิ่มความแข็งแรงให้กับหลอดเลือด อีกทั้งยังช่วยกระตุ้นให้ความจำดีมากขึ้นอีกด้วย สารสกัดจมูกข้าว หรือที่รู้จักกันดีในชื่อของ GABA ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทในระบบประสาทส่วนกลาง ช่วยรักษาสมดุลและกระตุ้นให้สมองได้ผ่อนคลาย ช่วยให้คุณแม่นอนหลับได้สนิทมากยิ่งขึ้น 

จะเห็นได้ว่า ภาวะสมองล้า นั้น สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน โดยเฉพาะวัยทำงาน หรือคุณแม่ลูกอ่อน ที่ต้องใช้สมองอย่างหนักในแต่ละวัน จนเกิดเป็นความเครียดสะสม ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันอย่างมาก ซึ่งในระยาว จะเป็นสาเหตุที่ทำให้คุณสมองเสื่อมก่อนวัยอันควร สาเหตุ และ วิธีป้องกัน ที่เรานำมาฝากกันในวันนี้ จะช่วยให้คุณแม่ห่างไกลจากภาวะสมองล้าได้มากยิ่งขึ้น สุขภาพกายและสุขภาพจิตดี ใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข มากขึ้นแน่นอน

Facebook
Twitter