ทำความรู้จักกับ ภาวะรังไข่เสื่อม ปัญหาที่ส่งผลกระทบกับคนอยากมีลูก

ภาวะรังไข่เสื่อม ถ้าหากคุณก็เป็นอีกคนหนึ่งที่อยากจะวางแผนสร้างครอบครัวที่อบอุ่น สมบูรณ์แบบ หรือใครกำลังที่วางแผนอยากจะมีเจ้าตัวน้อย แต่พยายามเท่าไหร่ก็ไม่ตั้งครรภ์สักที คุณอาจจะกำลังเข้าข่ายภาวะรังไข่เสื่อมอยู่ก็เป็นได้ ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งปัญหาใหญ่ ที่จะส่งผลกระทบกับการตั้งครรภ์ และเสี่ยงต่อการมีลูกยาก 

โดยปกติแล้ว ผู้หญิงจะเข้าไวหมดประจำเดือน หรือวัยทองในช่วงอายุ 45-55 ปี รอบเดือนจะเริ่มมาน้อยกว่าปกติ มีอาการหงุดหงิดง่าย อารมณ์แปรปรวนไม่คงที่ ถ้าหากคุณมีลักษณะเหล่านี้ก่อนวัย 40 ปี อาจเป็นสัญญาณของภาวะรังไข่เสื่อมก่อนกำหนด ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้คุณอาจมีบุตรยาก ดังนั้น เพื่อให้เล็งเห็นถึงความสำคัญ เราจึงนำข้อมูลเกี่ยวกับภาวะรังไข่เสื่อมมาฝากกัน เพื่อดูแลรังไข่ให้ถูกวิธี และวางแผนการรักษาที่เหมาะสม ช่วยให้คุณมีลูกได้ง่ายมากขึ้น จะมีสิ่งใดที่น่าสนใจบ้างนั้นไปติดตามกันเลย

1. ทำความรู้จักกับ ภาวะรังไข่เสื่อม

1. ทำความรู้จักกับ ภาวะรังไข่เสื่อม

เป็นภาวะที่เกิดขึ้นเนื่องจากรังไข่ทำงานผิดปกติ หรือรังไข่หยุดทำงานก่อนวัยอันควร พบได้ประมาณ 1% ในผู้หญิงที่มีอายุน้อยกว่า 40  ปี แล้วเมื่อรังไข่เสื่อมจะไม่มีการผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนเกิดขึ้น ทำให้เกิดการเสียสมดุล ส่งผลกระทบให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ ไข่ไม่ตก จึงทำให้มีความเสี่ยงเกิดภาวะมีบุตรยากนั่นเอง นอกจากนี้สำหรับคนที่รังไข่ทำงานไม่เป็นปกติ จะไม่มีการตอบสนองกับฮอร์โมน FSH (Folliclular Stimulating Hormone) ส่งผลให้อารมณ์แปรปรวน ผิวแห้งขาดน้ำ กระดูกพรุนง่ายเหมือนกับผู้หญิงช่วงวัยทองเลย

2. สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะรังไข่เสื่อม

2. สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะรังไข่เสื่อม

เกิดจากได้หลายปัจจัย หนึ่งในนั้นมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของโครโมโซม และพันธุกรรม  ที่สามารถพบได้ประมาณ 20-30% เกิดภาวะไข่ฝ่ออย่างรวดเร็ว หรือในบางรายอาจเกิดจากภาวะภายนอกเช่นการถูกฉายแสงบริเวณอุ้งเชิงกรานหรือการได้รับเคมีบำบัดเพื่อรักษาโรคมะเร็ง ทำให้เซลล์รังไข่ไม่ทำงาน รวมถึงผู้หญิงที่เป็นซีสในรังไข่ทั้งสองข้าง ก็จะทำให้มีภาวะรังไข่เสื่อมได้สูง นอกจากนี้การติดเชื้อโรคบางชนิดก็ส่งผลกระทบต่อรังไข่ได้ด้วย เช่น โรคคางทูม วัณโรคหรือมาลาเรียเป็นต้น โดยเฉพาะผู้หญิงที่มีการสูบบุหรี่ หรือได้รับสารพิษยาฆ่าแมลงรวมถึงโลหะหนักบางชนิดอยู่เป็นประจำ ก็มีผลทำให้เซลล์เนื้อเยื่อรังไข่เสื่อมสภาพได้ง่ายกว่าปกติด้วย

3. สัญญาณหรือลักษณะอาการที่บ่งชี้ว่าภาวะรังไข่เสื่อม

3. สัญญาณหรือลักษณะอาการที่บ่งชี้ว่าภาวะรังไข่เสื่อม

สำหรับผู้หญิงท่านไหนที่มีความกังวลใจว่าจะมีภาวะเป็นรังไข่เสื่อมหรือไม่นั้นให้สังเกตสัญญาณเตือนภายในชีวิตประจำวันดู เช่น  ประจำเดือนมาผิดปกติหรือไม่ โดยส่วนใหญ่แล้ว ประจำเดือนมักจะคลาดเคลื่อนไม่มาก แต่ถ้าหากคนที่มีภาวะรังไข่เสื่อมจะทิ้งช่วงนาน ปริมาณประจําเดือนลดลง หรือในบางรายอาจจะไม่มีประจำเดือนเลย รวมถึงอาการต่างๆที่ลักษณะคล้ายกับวัยทอง เช่น อารมณ์แปรปรวน  ช่องคลอดแห้ง ผมร่วงนอนไม่ค่อยหลับ ร้อนวูบตามตัว กระดูกเปราะบางง่ายหรือเป็นโรคกระดูกพรุน เป็นต้น 

4. ผลกระทบเมื่อมีภาวะรังไข่เสื่อม

4. ผลกระทบเมื่อมีภาวะรังไข่เสื่อม

แน่นอนว่าปัญหาอันดับต้นๆเลยคือจะทำให้คุณมีภาวะ มีบุตรยาก เพราะเมื่อรังไข่เสื่อมจะทำให้ไม่เกิดการตกไข่ นั่นก็หมายความว่าโอกาสการตั้งครรภ์เป็นศูนย์ หรืออาจจะมีการตกไข่บ้างในบางเดือนแต่ไข่ก็ไม่สมบูรณ์ซึ่งก็ทำให้มีบุตรยากตามมาด้วย อีกหนึ่งผลกระทบพี่รุนแรงและส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันคือ โรคกระดูกพรุน เมื่อรังไข่ไม่ทำงาน ร่างกายก็ขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งทำหน้าที่ในการเจริญเติบโตและให้ความแข็งแรงกับกระดูก ในผู้หญิงที่ภาวะรังไข่เสื่อมก็จะทำให้กระดูกบางและผลง่าย จึงทำให้เสี่ยงต่อกระดูกหักหรือเปาะร้าวได้ง่ายกว่าหญิงทั่วไป และที่ร้ายแรงกว่านั้นคือโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ที่อาจจะรุนแรงและอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้เลยทีเดียว

5. การวินิจฉัยและแนวทางการรักษา

5. การวินิจฉัยและแนวทางการรักษา

สำหรับใครที่เข้าข่ายภาวะมีบุตรยาก สามารถตรวจร่างกายและตรวจวัดระดับฮอร์โมนในร่างกายได้เช่นการตรวจฮอร์โมน AMH (Anti-Mullerian Hormone) จะเป็นการวัดปริมาณของไข่ในรังไข่ถ้าหากมีระดับฮอร์โมนชนิดนี้อยู่สูง นั่นหมายความว่าร่างกายยังมีไข่จำนวนมาก ซึ่งก็ยังคงมีโอกาสที่จะตั้งครรภ์ได้สูงขึ้นตามไปด้วย หรือการตรวจหาฮอร์โมน FSH (Follicular stimulating hormone)  ถ้าหากอยู่ในช่วง 10-20 mIU/ml นั่นคือภาวะเสี่ยงเข้าสู่วัยทองก่อนกำหนด เป็นต้น

 ถ้าหากตรวจเช็คแล้วเข้าข่ายภาวะรังไข่เสื่อม ต้องรีบดูแลตัวเองตั้งแต่เนิ่นๆ รักษาสุขภาพร่างกายและจิตใจให้แข็งแรง ลดความเครียดให้น้อยลง ดูแลโภชนาการให้ดี ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอรวมถึงควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน และที่สำคัญจะต้องตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันและหลีกเลี่ยง ความเสี่ยงต่างๆที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพนั่นเอง

เป็นอย่างไรกันบ้างสำหรับ ภาวะรังไข่เสื่อม ที่เรานำมาฝากกันในวันนี้ จะเห็นได้ว่า เป็นอีกหนึ่งภาวะที่ทำให้ผู้หญิงอย่างเราเกิดความวิตกกังวลอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว โดยเฉพาะใครที่กำลังวางแผนจะสร้างครอบครัวหรือกำลังวางแผนจะมีบุตร แต่ก็ยังไม่ตั้งครรภ์สักที แนะนำให้ตรวจเช็คสัญญาณต่างๆที่เรานำมาฝากดังกล่าวข้างต้น ถ้าหากพบว่ามีความเสี่ยงจะเข้าข่ายภาวะรังไข่เสื่อม ให้รีบพบแพทย์เพื่อทำการรักษา อาจจะใช้เป็นการให้ฮอร์โมนทดแทนเพื่อบรรเทาอาการวัยทอง หรือเข้าทำการรักษาภาวะมีบุตรยากด้วยการใช้ยากระตุ้นให้ไข่ตก ก็จะช่วยลดปัญหา และช่วยให้คุณคลายความกังวลลงได้มากเลยทีเดียว 

Facebook
Twitter