ปลูกฝังให้ “ลูกรักเป็นนักอ่าน” เริ่มได้ด้วยสิ่งเหล่านี้ !

ปลูกฝังให้ “ลูกรักเป็นนักอ่าน” เริ่มได้ด้วยสิ่งเหล่านี้ !

   พ่อแม่ทุกคนน่อมอยากเห็นลูกโตมาเป็นเด็กดี ที่แข็งแรงและมีพัฒนาการที่ดีพร้อมทั้งสติปัญญาอันชาญฉลาด และเป็นสิ่งที่น่ายินดี น่าสนับสนุนอย่างยิ่งหากลูกรักของคุณชื่นชอบการ “อ่านหนังสือ” เพราะการอ่านจะทำให้ลูกเป็นเด็กที่มีความรู้และมีทักษะทางความคิดได้ดี นอกจากนี้ยังเป็นทักษะของการพูดและการเขียน วันนี้จะมาบอกวิธี “ปลูกฝังให้ลูกรักการอ่าน” ว่าควรเริ่มต้นจากอะไร อย่ารอช้า ไปดูกันเลย! 

1. สิ่งแรกคือการสร้างมุมน่าอ่านให้กับลูก

โดยเริ่มจากการสร้างบรรยากาศให้กับมุมเล็กๆ ที่มีหนังสือเรียงรายน่าอ่านอยู่มากมาย อาจเริ่มจากชั้นหนังสือเล็กๆ หาหนังสือที่เหมาะสมกับวัยของลูก มาวางไว้เตรียมพร้อมสำหรับการหยิบมาอ่านได้อย่างง่ายๆ อาจจะกติกาให้กับลูกว่าเมื่ออ่านแล้วให้เก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย เพื่อฝึกให้เขารู้จักทะนุถนอมหนังสือของพวกเขา 

เป็นแบบอย่างการรักการอ่านให้กับลูก

2. เป็นแบบอย่างการรักการอ่านให้กับลูก

เริ่มจากการที่พ่อแม่ก็ชื่นชอบการอ่านด้วยเช่นกัน หากคุณพ่อคุณแม่อ่านให้ลูกเห็นอยู่บ่อยๆ ลูกก็จะมีพฤติกรรมที่ลอกเลียนแบบ ซึ่งหากเขาหยิบหนังสือมาอ่านทำตามคุณพ่อคุณแม่ ก็นับเป็นสิ่งที่ดีในการแนะนำหนังสือที่ดีให้กับลูกและทำให้เขารู้จักการอ่าน

การต่อยอดความคิด

3. การต่อยอดความคิด

อย่างเช่นเวลาที่คุณพ่อคุณแม่อ่านหนังสือหรืออ่านนิทานที่ได้ฟังต้องตั้งคำถามและเปิดโอกาสให้ลูกได้แสดงความคิดเห็นอยู่เสมอ อย่างเช่น ไก่มีกี่ตาให้ลูกลองนับและตอบคำถาม ถือเป็นการต่อยอดทางความคิดในขณะที่กำลังเล่านิทานให้เขาฟัง หรือเจอช่วงเวลาที่พอจะสอดแทรกความรู้ให้ได้ ลองฝึกให้เขาตั้งคำถาม เพื่อเป็นสร้างให้ลูกมีความคิดเห็นมากขึ้น แต่ไม่ควรเป็นคำถามที่หนัก หรือถามมากจนเกินไป เพราะการอัดความรู้ให้ลูกมากๆ ก็สร้างความเบื่อหน่ายได้เช่นกัน ซึ่งอาจทำให้เค้าไม่อยากเรียนรู้ได้ 

4. การใช้เวลาที่พอดี

ในการอ่านหนังสือให้ลูกฟังต้องใช้เวลาที่ไม่นานมากจนเกินไป เพราะอาจทำให้ลูกรู้สึกเบื่อได้ และไม่ควรอ่านสั้นจนเกินไปจนอาจทำให้เขาหงุดหงิด ต้องสังเกตท่าทีของลูกว่ายังอยากฟังอยู่หรือไม่ หากยังต้องการฟังก็ควรอ่านไปเรื่อยๆ หากเขายังสนุกกับการอยากรู้ในเรื่องหนังสือเล่นนั้น แต่หากลูกมีอาการว่าไม่อยากฟังแล้ว หรือเริ่มไม่สนใจแล้ว ก็ให้ยุติการอ่านไม่จำเป็นต้องให้เขาทนฟังต่อ

 ไม่ต้องคำนึงถึงเรื่องวัย

5. ไม่ต้องคำนึงถึงเรื่องวัย

เวลาที่พ่อแม่อยู่กับลูกไม่จำเป็นต้องกังวลเกี่ยวกับเรื่องวัย เรื่องระยะห่างระหว่างพ่อแม่กับลูก ให้สวมบทบาทเป็นเพื่อนสนิท ที่มีวัยใกล้เคียงกับลูก ทำตัวร่วมวัยกับลูกไปเลย เล่นเป็นเล่น ร้องเป็นร้อง คลานเป็นคลาน ไปกับลูกได้ก็ยิ่งดี ทำตัวให้เป็นเพื่อนที่ดีของลูกได้ เป็นการสร้างสัมพันธ์ที่ดีของพ่อแม่กับลูกได้ และเชื่อว่าลูกจะให้ความไว้ใจและเชื่อในสิ่งที่คุณแนะนำ

6. การหากิจกรรมสนุกๆ มาประกอบการอ่าน

ระหว่างการอ่านนิทานให้ลูกฟังนั้น บางครั้งการอ่านอย่างเดียวก็ทำให้ลูกคิดภาพตามไม่ออก แต่การเล่าเรื่องและมีท่าทางประกอบนั้นจะทำให้เด็กสนุกไปกับการฟังมากขึ้น การทำกิจกรรมกับลูกๆย่อมเป็นผลดีในการสร้างรอยยิ้มและเสียงหัวเราะให้แก่กันและกัน ทั้งยังช่วยทำให้การอ่านไม่น่าเบื่อได้อีกด้วย

การนำเสนออย่างมีความสุข

7. การนำเสนออย่างมีความสุข

ในทุกๆ ครั้งที่คุณพ่อคุณแม่หยิบหนังสือขึ้นมาอ่านนั้น ขอให้เป็นช่วงเวลาแห่งความสุขไม่ใช่การหยิบหนังสือขึ้นมาอ่านให้ลูกฟัง เป็นไปด้วยการบังคับ จนทำให้ลูกไม่มีความสุขและต้องจำใจทำ แต่ควรแสดงออก เชิญชวนเขาด้วยท่าทีที่เป็นสุข เพื่อให้ลูกน้องมีความสุข นำเสนอเรื่องราวที่สร้างความสุข เพื่อความสุขในการฟังหรืออ่านไปด้วยกัน

การเลือกหนังสือให้เหมาะสมกับวัยของลูก

8. การเลือกหนังสือให้เหมาะสมกับวัยของลูก

โดยที่คุณพ่อคุณแม่จะต้องไม่ถือตัวเองเป็นใหญ่ ไม่ใช่เลือกเพียงหนังสือที่คุณพ่อคุณแม่ชอบเท่านั้น เพราะวัยของลูกไม่ใช่วัยของพ่อแม่หนังสือที่ลูกชอบก็ควรให้เขาได้อ่าน แต่คุณพ่อคุณแม่ต้องดูเนื้อหาตามความเหมาะสมที่ลูกควรจะได้เรียนรู้ หนังสือที่ดีสำหรับลูกต้องมีเนื้อหาสั่นๆ เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน และตรงไปตรงมา น่าคิด น่าติดตาม และเป็นภาษาง่ายๆ ที่เด็กจะสามารถจำได้ ควรมีภาพประกอบที่สวยงาม และในขณะเดียวกันก็ควรเป็นหนังสือที่ กระตุ้นความคิดและเสริมสร้างพัฒนาการด้านสมองของลูกได้ด้วย

  หวังว่าคุณคงถูกใจกับบทความ ปลูกฝังให้ “ลูกรักเป็นนักอ่าน” เริ่มได้ด้วยสิ่งเหล่านี้ !  อันนี้

เครดิตภาพ : google.com , islammore.com

Facebook
Twitter