รู้เท่าทันโรคฝีดาษลิง ในยุคที่โรคระบาดเช่นนี้ ไม่เพียงแต่ต้องระวังเชื้อไวรัสโควิด-19 เท่านั้น แต่ในขณะนี้ โรคฝีดาษลิง ก็เป็นอีกหนึ่งโรคระบาดที่น่ากลัวไม่แพ้กันเลย จากสถานการณ์ล่าสุด ได้พบผู้ติดเชื้อจากโรคระบาดฝีดาษลิงในประเทศไทยแล้ว ทำให้ทุกภาคส่วนมีการตระหนักถึงความสำคัญของโรคนี้กันมากยิ่งขึ้น ความรุนแรงของโรคนี้พบอัตราการเสียชีวิตในเด็กเล็กมากกว่าผู้ใหญ่ หากบ้านไหนที่มีลูกน้อยยิ่งต้องระมัดระวังอย่างสูง อาการและวิธีการแพร่ระบาดของเชื้อเป็นลักษณะใดนั้น ไปติดตามกันเลย
ลักษณะของโรคฝีดาษลิง
หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Monkeypox เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเช่นเดียวกับเชื้อโควิด-19 แต่ไวรัสของโรคฝีดาษลิงคือกลุ่ม Othopoxvirus เป็นตระกูลเดียวกับที่ทำให้ติดเชื้อโรคฝีดาษในอดีตหรือที่รู้จักกันดีในชื่อของไข้ทรพิษนั่นเอง ที่เคยเกิดการระบาดมาแล้วทั่วโลกในช่วงก่อนปี 2523 ความรุนแรงของโรคในสมัยอดีตนั้นพบผู้เสียชีวิตจำนวนมาก จนทำให้มีวัคซีนหรือยารักษาโรค ที่สามารถควบคุมโรคไข้ทรพิษนี้จนหายไปได้ในสมัยนั้น ก่อนที่จะพบว่าเริ่มมีการระบาดของโรคฝีดาษลิงในปัจจุบัน
อาการของโรคฝีดาษลิง
ลักษณะโดยทั่วไปของการติดเชื้อไวรัสชนิดนี้อาการจะเริ่มแสดงออกประมาณ 2 สัปดาห์หลังจากได้รับเชื้อ อาการที่พบเห็นได้โดยทั่วไปคือจะมีไข้ หนาวสั่น รู้สึกปวดหัว และมีอาการเจ็บคอร่วมด้วย หรือในบางรายอาจมีอาการท้องเสีย คลื่นไส้อาเจียน และอ่อนเพลียไม่มีแรง หลังจากที่มีไข้ 1-3 วันตุ่มจะเริ่มขึ้นจากรอยจุดแดงเป็นตุ่มน้ำใส และกลายเป็นตุ่มน้ำหนอง ลักษณะตุ่มคล้ายกับโรคอีสุกอีใส
ตำแหน่งรอยโรค
โดยส่วนใหญ่แล้วจะเริ่มออกที่ใบหน้าและกระจายสู่ส่วนอื่นๆของร่างกาย หลังจากนั้นลักษณะของตุ่มจะเริ่มตกสะเก็ดร้านหลุดลอกออกไปภายใน 2-4 สัปดาห์ อาการป่วยจะเริ่มดีขึ้นหลังจากที่ตุ่มหนองนั้นแห้งสนิทแล้ว จึงจะถือว่าคุณค้นช่วงระยะการแพร่เชื้อให้กับผู้อื่นแล้ว
การแพร่กระจายของโรค
เชื้อไวรัสในกลุ่ม Othopoxvirus สามารถพบได้ในสัตว์หลายชนิด โดยเฉพาะสัตว์ที่เป็นตระกูล think และสัตว์ฟันแทะเช่นกระรอก กระต่ายเป็นต้น โดยการแพร่กระจายของเชื้อโรคนั้นแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ ถ่ายทอดจากสัตว์สู่คน โดยผู้ป่วยสัมผัสกับเลือดหรือสารคัดหลั่งของกะทิติดเชื้อ หรือรวมไปถึงโดนกัดหรือมีรอยข่วน นอกจากนี้หากกินเนื้อสัตว์ที่มีเชื้อโรคที่ไม่ได้ปรุงสุก ก็มีโอกาสติดเชื้อด้วยเช่นกัน อีกกลุ่มหนึ่งคือถ่ายทอดจากคนสู่คน หากคุณสัมผัสกับผู้ที่มีเชื้อสีดำดินโดยผ่านทางสารคัดหลั่งเช่น น้ำลาย น้ำมูก ตุ่มหนองที่แตกแล้ว หรือรวมไปถึงอุปกรณ์ของใช้ส่วนตัวที่มีการปนเปื้อนเชื้อโรคก็สามารถทำให้ติดเชื้อร่วมกันได้เช่นกัน
วิธีการดูแลและป้องกันตนเอง
ก่อนอื่นเลยให้คุณหลีกเลี่ยง ขับสารคัดหลั่งของผู้ที่ติดเชื้อเช่น บาดแผล เลือด น้ำเหลือง เพราะสามารถนำเชื้อมาสู่คุณได้ นอกจากนี้คุณต้องหมั่นล้างมือด้วยน้ำสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์อยู่เป็นประจำ คุณแม่ควรหมั่นปลูกฝังเรื่องความสะอาด ให้เด็กจะหนักถึงความสำคัญ นอกจากนี้ควรสวมใส่หน้ากากอนามัยเมื่ออยู่ในที่สาธารณะ แต่ถ้าหากคุณไปสัมผัสกับเชื้อมาแล้วควรฉีดวัคซีนป้องกันไข้ทรพิษภายใน 14 วันก็สามารถช่วยลดการแพร่ระบาดลงได้
วัคซีนสำหรับโรคฝีดาษลิง
ในปัจจุบันพบว่า ทางกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้มีการนำวัคซีนที่แช่แข็งมานานกว่า 40 ปี ไปเพาะเชื้อแล้วพบว่าเชื้อเจริญได้ นั่นหมายความว่า วัคซีนนั้นอาจมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคฝีดาษลิงนี้ได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นจะต้องมีการทดสอบในเรื่องของความปลอดภัยก่อนใช้อย่างละเอียดอีกครั้งนั่นเอง
เป็นอย่างไรกันบ้างสำหรับสาระความ รู้เท่าทันโรคฝีดาษลิง เรานำมาฝากกันในวันนี้ เพื่อเป็นอีกหนึ่งแนวทางในการป้องกันและตระหนักถึงความรุนแรงของโรคที่อาจเกิดขึ้นกับเราได้ตลอดเวลา ดังนั้นวิธีการป้องกันตนเองที่ดีที่สุดคือ การรักษาความสะอาด และการสวมหน้ากากอนามัยในพื้นที่สาธารณะ ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยให้เราห่างไกลจากโรคฝีดาษลิงนี้ได้ สำหรับบ้านไหนที่มีเด็กเล็กยิ่งต้องระมัดระวังโรคนี้เป็นพิเศษ หากมีความจำเป็นต้องออกไปในพื้นที่สาธารณะ แนะนำให้พกเจลแอลกอฮอล์ ทิชชูเปียก อย่าลืมสวมหน้ากากอนามัยเพื่อลดการติดเชื้อลงได้นั่นเอง babyplaypark