คุณแม่ห้ามพลาด กับโรคร้ายใกล้ตัวของเด็กทารกอย่าง โรค RSV หากรักษาไม่ทัน อันตรายถึงชีวิต

โรค RSV เมื่อก้าวเข้าสู่ฤดูฝน เป็นอีกหนึ่งฤดูที่มาพร้อมกับโรคระบาดมากมาย โดยเฉพาะในเด็กเล็กที่สามารถหลีกเลี่ยงและป้องกันได้ยากกว่าในผู้ใหญ่หลายเท่า อีกหนึ่งภัยร้ายใกล้ตัวอย่างโรค  RSV  ที่พบระบาดในเด็กเล็ก ที่ส่งผลกระทบในระบบทางเดินหายใจ ทำให้หลอดลมฝอยของลูกอักเสบ ในบางรายรุนแรงถึงขั้นมีภาวะปอดอักเสบร่มด้วย ดังนั้น จำเป็นอย่างมากที่ผู้ปกครอง จะต้องมีความเข้าใจและสามารรับมือกับโรคระบาดนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลักษณะของโรคจะเป็นอย่างไรบ้างนั้น ไปติดตามกันเลย

1. ทำความรู้จักกับไวรัส RSV (Respiratory Syncytial)

1. ทำความรู้จักกับไวรัส RSV (Respiratory Syncytial)

เชื้อไวรัสที่สามารถพบได้ทั่วไปตามธรรมชาติ สามารถก่อให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจทั้งส่วนบนและส่วนล่างได้ โดยจากการสำรวจพบว่าเชื้อไวรัสชนิดนี้สามารถติดได้ทั้งในเด็กและวัยผู้ใหญ่ แต่กลุ่มเป้าหมายและผู้ป่วยที่พบได้บ่อยมักเกิดขึ้นกับในเด็กเล็กที่มีอายุต่ำกว่า 3 ปี โดยจะระบาดหนักในช่วงปลายฝนต้นหนาว เชื้อไวรัสชนิดนี้เป็นสาเหตุมาจากไข้หวัด ที่มีส่วนทำให้หลอดลมอักเสบ ส่วนมากแล้วอาการจะไม่รุนแรงมากนักถ้าหากไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน ผู้ป่วยจากหายป่วยได้ภายใน 1 ถึง 2 สัปดาห์

2. อาการของผู้ติดเชื้อไวรัส RSV

2. อาการของผู้ติดเชื้อไวรัส RSV

เมื่อผู้ป่วยได้รับเชื้อจะมีอาการภายใน 4 ถึง 6 วัน ส่วนใหญ่แล้วอาการจะแสดงให้เห็นโดยเริ่มจากการเป็นไข้หวัดธรรมดา แต่ลักษณะพิเศษของเชื้อไวรัสตัวนี้คือจะทำให้หลอดลมฝอยในเด็กอักเสบ ซึ่งจะมีลักษณะคล้ายกับอาการหอบหืด โดยเด็กจะมีอาการหายใจเร็วหอมจนถึงขั้นใช้โครงหรือหน้าอกบุ๋ม รับประทานอาหารได้น้อย มีอาการซึมและมีไข้สูงกว่า 39 องศาเซลเซียส บางรายมีอาการหนัก ปากซีดเขียว และมีโอกาสเสียชีวิตได้เนื่องจากระบบทางเดินหายใจล้มเหลวเฉียบพลันนั่นเอง

3. การแพร่กระจายของเชื้อโรค

3. การแพร่กระจายของเชื้อโรค

เชื้อไวรัสชนิดนี้สามารถติดต่อได้จากการสัมผัสสารคัดหลั่งต่างๆเช่น น้ำมูก น้ำลาย เสมหะ โดยเชื้อจะเข้าผ่านทางช่องจมูก ปาก และเยื่อบุตา ดังนั้นจำเป็นอย่างมากที่พ่อแม่จะต้องเฝ้าระวังและดูแลของเล่น หรือ ภาชนะที่ลูกใช้อยู่เป็นประจำให้สะอาด รวมไปถึงเฟอร์นิเจอร์ที่มีการเปื้อนสารคัดหลั่งของผู้ป่วย ก็สามารถติดต่อสู่กันได้ด้วย โดยผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสสามารถแพร่กระจายเชื้อได้ 3 ถึง 8 วัน  ดังนั้น เด็กที่ได้รับเชื้อไวรัสชนิดนี้เข้าสู่ร่างกายแล้วสามารถแพร่กระจายเชื้อให้กับผู้อื่นได้อย่างรวดเร็ว 

5. วิธีการรักษา

4. วิธีการรักษา

ในปัจจุบันพบว่ายังไม่มีวัคซีนที่สามารถป้องกันโรคไวรัส RSV ได้โดยตรง แต่การรักษาส่วนมากจะรักษาตามอาการ เช่น การให้ยาลดไข้ การดูดเสมหะ รวมไปถึงการให้ยาขยายหลอดลมเมื่อมีการหายใจหอบเหนื่อย หรือนอกจากนี้ในผู้ป่วยบางรายที่มีภาวะขาดสารอาหารจะได้รับการให้สารน้ำทดแทน โดยการรักษาส่วนใหญ่จะอยู่ที่ประมาณ 1-2 สัปดาห์

6. ข้อควรระวังของโรคไวรัส RSV

5. ข้อควรระวังของโรคไวรัส RSV

เนื่องจากไวรัสชนิดนี้สามารถติดต่อจากคนสู่คนได้ ดังนั้นควรแยกผู้ป่วยออกจากผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้สูงอายุ ที่ถ้าหากติดเชื้อแล้วจะมีอาการรุนแรงมากกว่าในอีกหลายเท่า ส่วนมากมักจะมีอาการไข้สูง ซึมลงและมีอาการหายใจหอบเหนื่อยส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจอย่างรวดเร็ว ดังนั้นหากพบว่าผู้สูงอายุมีการติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ต้องรีบพบแพทย์เพื่อทำการรักษาอย่างเร่งด่วน 

6. วิธีการป้องกัน

6. วิธีการป้องกัน

ถ้าหากพบว่าในชั้นเรียนมีเด็กที่ป่วยด้วยเชื้อไวรัสชนิดนี้ให้หลีกเลี่ยงการสัมผัสหรือใกล้ชิดกับผู้ป่วย ให้คุณพ่อคุณแม่ปลูกฝังการรักษาสุขอนามัยที่ดี ด้วยการล้างมือให้บ่อยขึ้นด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ หลีกเลี่ยงการไปเล่นในสถานที่ที่มีผู้คนแออัด เช่น ในสนามเด็กเล่น สำหรับผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ให้หลีกเลี่ยงการสัมผัสควันบุหรี่เพราะจะทำให้อาการของโรคนั้นรุนแรงมากยิ่งขึ้น และควรงดออกจากบ้านเพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อสู่ผู้อื่นนั่นเอง

เป็นอย่างไรกันบ้างสำหรับ สาระน่ารู้ของ โรค RSV ที่เรานำมาฝากกันในวันนี้ เมื่อเข้าสู่หน้าฝนทีไร มักมาพร้อมกับโรคระบาดมากมาย โรค RCV ก็เป็นอีกโรคหนึ่งส่งผลกระทบต่อพัฒนาการของลูกไม่น้อยเลยทีเดียว  สามารถหลีกเลี่ยงได้ยาก จำเป็นอย่างมากที่ผู้ปกครองจะต้องมีความรู้เบื้องต้น ที่สามารถรับมือกับโรคนี้ได้อย่างทันท่วงที ถ้าหากบ้านไหนที่ลูกมีอาการป่วย หายใจหอบเหนื่อย หน้าอกบุ๋ม ให้รีบพบแพทย์โดยเร็ว เพื่อทำการวินิจฉัยและรักษาได้อย่างทันท่วงทีนั่นเอง สล็อตออนไลน์

Facebook
Twitter