การนอนของลูกน้อย “ วัยทารก ” มีผลต่อพัฒนาการด้านสมอง อย่างไร !

การนอนของลูกน้อย “ วัยทารก ” มีผลต่อพัฒนาการด้านสมอง อย่างไร ! 

  การเลี้ยงลูกน้อยวัยทารกนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะลูกน้อยวัยทารกนั้นมีร่างกายที่บอบบางกว่าปกติ ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาที่คุณพ่อคุณแม่ต้องการให้ลูกน้อยนอนพักผ่อนอย่างเต็มที่ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องดีสำหรับลูกน้อย วัยทารก เสมอไป เพราะจริงๆ แล้วไม่ว่าลูกน้อยวัยทารกจะนอนมากหรือนอนน้อยนั้น ก็ไม่ดีทั้งนั้น วันนี้เราจะมาพูดถึงประเด็นของการดูแลทารก ไม่ให้เด็กวัยทารกนอนมากหรือน้อยนอนน้อยเกินไป จะมีผลอะไรต่อลูกน้อยบ้างลองมาดูกัน

การนอนของลูกน้อย “ วัยทารก ” มีผลต่อพัฒนาการด้านสมอง อย่างไร !

   การนอนของลูกน้อยวัยทารก ก่อนอื่นคุณพ่อคุณแม่ควรเรียนรู้เรื่องการนอนของลูกน้อย “ วัยทารก ” โดยปกติแล้วทารกแรกเกิดนั้นจะนอนเฉลี่ยวันละประมาณ 20 – 22 ชั่วโมง และมักจะตื่นประมาณ 3 ครั้ง ต่อคืนในการนอนหลับแต่ละครั้งนั้นจะใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมง แต่หากเมื่อไรที่ลูกน้อย วัยทารก หิว พวกเขาก็มักจะตื่นขึ้นมากลางดึกได้อยู่เสมอ และจะมีพฤติกรรมเช่นนี้ จนถึงอายุประมาณ 2-3 ขวบ พวกเขาจึงจะสามารถควบคุมการนอนของพวกเขาเองได้ อย่างติดต่อกัน 

   การหลับนอนของลูกน้อย “ วัยทารก ” ไม่ว่าจะเป็นวัยแรกเกิด จนถึงวัยเตาะแตะนั้นเป็นสิ่งสำคัญ เพราะการหลับนอนที่มีคุณภาพจะส่งผลต่อการเจริญเติบโต เนื่องจากในขณะที่เด็กทารกนอนหลับนั้น จะมีการหลั่งของ “ โกรทฮอร์โมน ” ออกมากระตุ้นให้ร่างกายเจริญเติบโต เส้นใยประสาทจะเชื่อมโยงกับเซลล์ ซึ่งสมองของลูกน้อยจะได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ ทำให้เป็นเด็กที่มีอารมณ์ดี เรียนรู้ได้มาก และพัฒนาการด้านสมองจะสามารถเจริญเติบโตได้เป็นอย่างดี

การนอนของลูกน้อย “ วัยทารก ” มีผลต่อพัฒนาการด้านสมอง อย่างไร !

  การนอนของเด็กวัย 3 – 11 เดือน เป็นช่วงที่คุณพ่อคุณแม่จะรู้สึกเหนื่อยน้อยกว่าเดิม เพราะเจ้าตัวเล็กจะเริ่มหลับกลางวันน้อยลง และนอนกลางคืนมากขึ้น เมื่ออายุ 6-9 เดือน เด็กบางคนจะไม่ตื่นมากลางดึก โดยจะหลับยาวรวดเดียวจนไปถึงเช้า คุณแม่ไม่ต้องกังวลว่าลูกจะหิว เพราะหากลูกหลับยาวแสดงว่าลูกอิ่มแล้ว เด็กทารกวัยนี้จะนอนประมาณ 9 – 12 ชั่วโมงในเวลากลางคืน และงีบหลับสั้นๆ ในช่วงกลางวัน ประมาณครั้งละ 30 นาที ชั่วโมง วันละ 1 – 4 ครั้ง

  หมั่นสังเกตการนอนของลูกน้อย “ วัยทารก ” เพื่อที่จะมองเห็นถึงความผิดปกติในเรื่องการนอนได้ อย่างเช่น หากลูกน้อยทานมากเกินไปครบ 4 -5 ชั่วโมง แล้วยังไม่ตื่นมาทานนมอีก หรือหากลูกน้อยทานนมน้อยกว่าปกติ และร้องไม่หยุดร้อง นี่คืออาการผิดปกติ หรือหากลูกน้อยร้องน้อยมากๆ คุณแม่ห้ามนิ่งนอนใจโดยเด็ดขาด ให้รีบพาลูกไปปรึกษาแพทย์ เพื่อที่จะสามารถช่วยป้องกันภาวะปัญญาอ่อนที่อาจจะเกิดขึ้นได้ 

  ในส่วนความผิดปกติที่กล่าวมาด้านต้นนั้น อาจเป็นภาวะจากฮอร์โมนไทรอยด์ในเลือดต่ำ หรือเกิดอาการติดเชื้อ มีอาการตัวเหลือง หรือเกิดภาวะตัวเย็น ซึ่งมักจะพบในฤดูหนาว หรือลูกอาจนอนในห้องที่มีอุณหภูมิเย็น ซึ่งเป็นสิ่งมี่คุณพ่อคุณแม่ควรใส่ใจเป็นพิเศษ

การนอนของลูกน้อย “ วัยทารก ” มีผลต่อพัฒนาการด้านสมอง อย่างไร !

สังเกตการทานนมของลูกน้อยทารกแรกเกิด ซึ่งโดยปกติแล้วทารกมักจะตื่นมาดูดนมประมาณ 8 มื้อต่อวัน หากลูกทานนมจากเต้าคุณแม่ คุณแม่ก็ควรกะให้ลูกทานจนอิ่ม วิธีที่จะรู้ว่าลูกกินนมปริมาณเท่าใดจึงจะอิ่ม ให้สังเกตง่ายๆ ว่าเมื่อทารกคลายปากออกจากเต้าคุณแม่ นั่นหมายถึงพวกเขาอิ่มแล้วนั่นเอง

 การนอนของลูกน้อยวัยเท่าทารกนั้น โดยปกติแล้วเด็กทารกที่สามารถกล่อมตัวเองให้หลับเองได้ คือเด็กทารกที่พ่อแม่เลี้ยงโดยการวางลูกให้นอนอยู่ในเบาะและปล่อยให้เขาหลับเอง และเมื่อเขาตื่นมากลางดึก ลูกจะเรียนรู้ในการกล่อมตัวเองให้หลับไปได้ แต่หากพ่อแม่ที่กล่อมลูกนอนให้หลับคาอก เมื่อลูกตื่นมากลางดึกพวกเขาจะไม่มีวิธีช่วยให้ตัวเองหลับได้ จึงมักจะส่งเสียงร้อง เพื่อให้พ่อแม่ช่วยกล่อมนั่นเอง ดังนั้นพ่อแม่ควรฝึกฝน โดยการปล่อยให้ลูกนอน อยู่บนเบาะและหลับไปเองจะดีกว่า

   การนอนหลับของลูกน้อยวัยทารก จึงเป็นสิ่งสำคัญต่อการพัฒนาสมองและพัฒนาการของเด็กเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ ไม่ควรละเลยลูกน้อย ควรหมั่นสังเกตทั้งวิธีการทานและวิธีการนอนของลูกอย่างสม่ำเสมอ เพราะหากคุณไม่สังเกต  คุณจะไม่มีทางรู้เลยว่า ลูกน้อยมีความผิดปกติด้านใดบ้างจนกว่าพวกเขาจะเติบโต และมีอาการต่างๆ ที่แสดงออกมา หากอยากให้ลูกน้อยของคุณเติบโตอย่างแข็งแรง ทั้งด้านสุขภาพและสมอง อย่าลืมดูแลและสังเกตพวกเขาให้เป็นอย่างดี นะคะ 

การนอนของลูกน้อย “ วัยทารก ” มีผลต่อพัฒนาการด้านสมอง อย่างไร ! 

 Taxx 12/1/64

เครดิต https://www.maerakluke.com/topics/21813 

babyplaypark.com

เกมส์ออนไลน์แนะนำ >>> บาคาร่า

Facebook
Twitter