
มีใครอยากรู้บ้างว่าการทำงานของสมองเด็กมีขั้นตอนอย่างไร ทำงานอย่างไรบ้าง เพราะการทำงานของสมองเด็กมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นวัยเด็กเป็นวัยที่มีพัฒนาการด้านการเรียนรู้ได้รวดเร็ว ทั้งสมองยังเปรียบเสมือนรากฐานในร่างกายของคนทุกคน ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่หลายท่านจึงมักปลูกฝังรากฐานของลูกให้แน่น และแข็งแรง เพื่อเติบโตเป็นเด็กที่ฉลาด ทั้งมีสติปัญญาที่เพียบพร้อม วันนี้จะมาพูดถึงเรื่องการทำงานของสมองของเด็ก ว่าเป็นอย่างไร หากใครอยากทราบ มาดูกันเลย !
เริ่มตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา
ตั้งแต่ในช่วงที่คุณแม่เริ่มตั้งครรภ์นั้น ลูกน้อยก็เริ่มมีพัฒนาการด้านสมองแล้ว ในช่วงสองเดือนแรกสมองมีการพัฒนาสร้างเซลล์สมองเพิ่มขึ้น เป็นจำนวนมาก ส่วนในช่วงระยะ 2 – 3 เดือน หลังจากครรภ์เริ่มโต ลูกที่อยู่ในครรภ์จะสามารถรับรู้รสชาติของน้ำคล่ำได้
ในช่วงที่ครรภ์มีอายุ 4 – 6 เดือน
สมองของลูกจะเริ่มควบคุมการขยับของร่างกายได้แล้ว โดยออกมาในรูปแบบของการดิ้น ส่วนช่วงเวลาใกล้คลอดที่ระยะครรภ์ 7 – 9 เดือนนั้น สมองของเด็กจะเริ่มมีรอยหยักในสมองจะทำให้สามารถจำเสียงของพ่อแม่ได้ ซึ่งนับเป็นสิ่งวิเศษ
สมองของลูกจะพัฒนาตามการให้นมของแม่
จากการวิจัยของ Lucas A ได้เผยว่า การให้นมของแม่นั้นมีผลต่อทารกด้านสมองโดยตรง โดยเฉพาะในด้านของภาษา ยิ่งแม่ให้น้ำนมลูกมากเท่าใด สมองของลูกก็จะยิ่งพัฒนามากขึ้นเท่านั้น เพราะในน้ำนมของแม่มีสารอาหาร มีน้ำตาลแล็กโทสสูง ถึงร้อยละ 7 ส่วน เมื่อเทียบกับค่าน้ำตาลในนมทั่วไปจะมีเพียง 4.8 ส่วน เท่านั้น ซึ่งน้ำตาล “แล็กโทส” นี้ จะย่อยจนกลายเป็นน้ำตาล “กาแล็กโทส” ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของสมองนั่นเอง
เพราะสมองของลูกจะถูกกระตุ้นด้วยการสัมผัส
อย่างเช่น การสัมผัสลูกด้วยการกอด การให้นมลูก การจับมือ สิ่งเหล่านี้เป็นการกระตุ้นให้เซลล์สมองทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น จากการสัมผัสจะไปกระตุ้นให้สมองส่วนของจุดประสานประสาท (ไชแนปส์) ให้สร้างเซลล์ในช่องว่างที่มีอยู่ในสมอง จะทำให้เส้นใยประสาทในสมองแตกแขนงออกไปได้อีก ซึ่งในปีแรกเซลล์สมองของลูกน้อย จะมีการเจริญเติบโตถึง 90% ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก
การเคลื่อนไหวของลูกมีผลต่อการพัฒนาสมอง
อย่างยิ่ง เพราะสมองนั้น ได้ถูกพัฒนามาจากกิจกรรมที่ลูกได้ทำ ส่วนใหญ่มักเกิดจากความเคลื่อนไหว ที่ทำให้เซลล์ต่างๆ ได้เชื่อมต่อระหว่างส่วนอื่นของสมองซีกซ้าย ที่ทำหน้าที่ในรูปธรรมทั้งความคิด การพูด ภาษา รวมทั้งการเขียนของพวกเขาในอนาคต การเคลื่อนไหวนั้นยังส่งผลต่อระดับ EQ ของลูกได้ ทั้งยังจะทำให้ลูกกล้ามากขึ้น มีความมั่นใจในตัวเองมากขึ้น ซึ่งส่งผลต่ออารมณ์และสังคม
“ความเครียด” จะทำให้สมองเรียนรู้น้อยลง
สิ่งนี้เป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ต้องทราบ เพราะหากเมื่อไรที่คุณทำให้ลูกเครียดหรือแสดงพฤติกรรมต่างๆ ในด้านที่ไม่ดีต่อหน้าลูก ก็จะมีผลกระทบต่อความฉลาดของลูก มีผลด้านความทรงจำ ด้านของอารมณ์เด็ก เมื่อร่างกายของลูกเครียดก็จะผลิตสารเคมีที่ชื่อว่า “คอร์ติโซล” ออกมา ซึ่งสารนี้จะทำให้สมองส่วน “คอร์เท็กซ์ และ ฮิปโปแคมปัส” ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับด้านอารมณ์ ความคิด และความทรงจำ ถูกลดลงตามลำดับ จนส่งผลให้การเรียนรู้ของลูกนั้นลดลงตาม
แต่หากลูกมี “ความสุข” ก็จะส่งผลเชิงบวก และทำให้เคมีที่ดีในสมองผลิตออกมาด้วยเช่นกัน จะส่งผลให้ลูกมีความพร้อมในการเรียนรู้ได้มากขึ้น และเข้าใจได้รวดเร็วขึ้น
และสิ่งที่นำมาฝากกันในวันนี้ เป็นโอกาสทองในช่วง 3 ปีแรกที่จะทำให้ลูกฉลาดได้มากยิ่งขึ้น ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรพัฒนาสมอง และเสริมทักษะลูกตั้งแต่อยู่ในครรภ์กันเลย
หวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน และหวังว่าคุณคงจะถูกใจกับบทความ การทำงานของ “สมองลูกน้อย” ที่คุณพ่อคุณแม่ต้องรู้ ! อันนี้
เครดิตภาพ : google.com , motherrandcare.com