กรดไหลย้อนในเด็กทารก อันตรายไหม คุณแม่ควรรับมืออย่างไร?!

กรดไหลย้อนในเด็กทารก อันตรายไหม คุณแม่ควรรับมืออย่างไร?!

   หากเอ่ยคำว่าเกรดไหลย้อน ก็คงไม่มีใครอยากจะเป็นโดยเฉพาะในวัยทารก วันนี้มีหัวข้อ กรดไหลย้อนในเด็กทารก อันตรายไหม คุณแม่ควรรับมืออย่างไร?! มาบอก เป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรจะต้องทราบ เพื่อรับมือกับสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นทั้งที่ไม่อยากจะให้เกิดขึ้น 

วิธีสังเกตอาการ

วิธีสังเกตอาการ

ต้องเข้าใจเสียก่อนว่าโรคกรดไหลย้อนไม่ได้เกิดกับเฉพาะวัยผู้ใหญ่เท่านั้น แต่กับเด็กทารกก็สามารถเป็นได้ สัญญาณของอาการกดไหลย้อนในเด็กให้สังเกตจาก การไอเรื้อรังของลูก  การร้องไห้ระหว่างมื้ออาหารและหลังรับประทานอาหาร บางครั้งลูกจะมีอาการเบื่ออาหารและมักจะมีปัญหาเวลาที่รับประทานอาหาร รวมถึงอาการอาเจียนบ่อยๆ 

สาเหตุที่เป็นกรดไหลย้อน

สาเหตุที่เป็นกรดไหลย้อน

เริ่มจากกรดในกระเพาะเคลื่อนตัวกลับมาที่หลอดอาหาร เพราะระบบย่อยอาหาร ยังทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพนัก ซึ่งสาเหตุเกิดได้จากหลายกรณี มีความแตกต่างกันออกไป ทั้งเด็กเล็ก หรือผู้ใหญ่ เกิดขึ้นเพราะระบบกล้ามเนื้อปิดเปิด ระหว่างกระเพาะ และหลอดอาหารเกิดการคลายตัว เกิดแรงดันมาจากด้านล่างของกล้ามเนื้อเปิดปิด 

วิธีรับมือหากลูกเป็นกรดไหลย้อน

วิธีรับมือหากลูกเป็นกรดไหลย้อน

เริ่มจากการปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ก็อาจจะช่วยให้ลูกบรรเทาอาการกรดไหลย้อนได้ค่ะ ไม่ว่าจะเป็น การนอน การรับประทานอาหาร ก็มีผล

การรับมือกับกรดไหลย้อนสำหรับเด็กเล็ก

การรับมือกับกรดไหลย้อนสำหรับเด็กเล็ก

เริ่มจากการปรับตารางรับประทานอาหารให้ลูก อาจเพิ่มซีเรียลซ์ในขวดนม หรืออาจให้ลูกรับประทานอาหารที่แข็งขึ้น แต่ทั้งนี้จะต้องศึกษากุมารแพทย์เสียก่อน 

สำหรับท่านอน

สำหรับท่านอน

ควรยกส่วนหัวของเตียง หรือเปลของลูกให้อยู่สูงขึ้น และเวลาอุ้มลูก ควรให้เขาได้อยู่ในท่าที่ลำตัวตั้งตรงสักประมาณ 30 นาที หลังจากที่ป้อนอาหารแล้ว 

การรับมือกับกรดไหลย้อนสำหรับเด็กโต

การรับมือกับกรดไหลย้อนสำหรับเด็กโต

เริ่มจากท่านอนของลูก คุณแม่ควรยกส่วนของหัวเตียงของลูกให้อยู่สูงขึ้น ให้ลูกอยู่ในท่าที่ลำตัวตรง หลังจากรับประทานอาหารอย่างน้อย 2 ชั่วโมง จากนั้นควรแบ่งมื้ออาหารออกเป็นมื้อย่อยๆ ระหว่างวัน ไม่ควรให้ลูกทานมื้อใหญ่ในทีเดียว 

ควรจำกัดอาหาร และเครื่องดื่มที่อาจทำให้เกิดอาการกดไหลย้อนแย่ลง งดการดื่มน้ำอัดลมสำหรับลูก และส่งเสริมให้ลูกได้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

รักษาโรคกรดไหลย้อนโดยการผ่าตัด

รักษาโรคกรดไหลย้อนโดยการผ่าตัด

ยังคงมีการรักษาโรคกรดไหลย้อนด้วยวิธีอื่น โดยไม่มีความจำเป็นสำหรับเด็ก ที่จะต้องเข้ารับการผ่าตัดเพื่อรักษาโรคกรดไหลย้อนนี้ เพราะการผ่าตัดนั้นมีความเสี่ยง โดยที่คุณจะต้องมีการปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเสียก่อน เพราะจะช่วยคุณตัดสินใจว่าวิธีการรักษาใดที่จะเหมาะสมที่สุด สำหรับลูกน้อยและบุตรหลานของคุณ 

หวังว่าคุณคงจะถูกใจบทความ กรดไหลย้อนในเด็กทารก อันตรายไหม คุณแม่ควรรับมืออย่างไร?! อันนี้

Taxx 11/2/64 แม่และเด็ก

เครดิตภาพ : google.com , sanook.com

https://www.sanook.com/women/140301/
Facebook
Twitter